พิพิธภัณฑ์เหมืองทองคำบ้านบ่อทอง
ตำบลบ่อทอง อำเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี 
 ส่วนกำกับและฟื้นฟูคุณภาพสิ่งแวดล้อม 
 สำนักบริหารและฟื้นฟูสิ่งแวดล้อม 

 ไฟล์download>> Click ที่นี่
กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ เป็นหน่วยงานในสังกัดกระทรวงอุตสาหกรรม มีบทบาทในการบริหารจัดการและพัฒนาอุตสาหกรรมเหมืองแร่และอุตสาหกรรมพื้นฐาน ให้เป็นไปอย่างมีดุลยภาพทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม 
กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ มีภารกิจโดยตรงในการบริหารทรัพยากรแร่และสิ่งแวดล้อมรวมทั้งฟื้นฟูสภาพพื้นที่ที่ผ่านการทำเหมืองแร่แล้ว ได้ตระหนักถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในด้านต่าง ๆ เสมอมา จึงได้มีการบริหารจัดการป้องกันและแก้ไขผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากการทำเหมืองแร่ให้อยู่ในเกณฑ์ที่สังคมยอมรับได้เช่นในอดีตได้มีการฟื้นฟูพื้นที่ที่เป็นกรรมสิทธิ์ของรัฐหลายแห่ง ได้แก่ สวนเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดภูเก็ต สวนสาธารณะกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา สวนนวมินทราชินี จังหวัดระนอง เป็นต้น 
แหล่งแร่ทองคำที่ตำบลบ่อทอง อำเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี พบครั้งแรกในปีพุทธศักราช 2414 ตรงกับรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 โดยเจ้าเมืองปราจีนบุรีในสมัยนั้นเป็นผู้ดำเนินการทำเหมืองด้วยการขุดเจาะเป็นหลุมลึกลงไปเป็นอุโมงค์ใต้ดิน หลังจากนั้นบริษัทของชาวต่างประเทศร่วมกับชาวไทยเข้ามาดำเนินการทำเหมืองใต้ดินระดับลึกอีกครั้ง แต่เนื่องจากสินแร่ที่มีความสมบูรณ์เริ่มหมดลงไป และผลกระทบอันเนื่องมาจาก สงครามโลกครั้งที่ 1 จึงได้หยุดดำเนินการไป ต่อมากรมโลหกิจหรือกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ในปัจจุบัน ได้จัดตั้งศูนย์อุตสาหกรรมเหมืองแร่ขึ้น และดำเนินการผลิตแร่ทองคำต่อในช่วงระหว่างปีพุทธศักราช 2493-2500 ในครั้งนั้นได้แร่ทองคำมากถึง 55 กิโลกรัม 
จากประวัติความเป็นมาที่ยาวนานกว่าร้อยปีของการทำเหมืองทองคำที่บ้านบ่อทอง อำเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี ปัจจุบันยังพบซากปรักหักพังปรากฏอยู่ในหลายบริเวณโดยรอบพื้นที่ที่ผ่านการทำเหมืองแร่ทองคำ ซึ่งอยู่ในความดูแลรับผิดชอบขององค์การบริหารส่วนตำบลบ่อทอง กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่จึงร่วมกับจังหวัดปราจีนบุรี โดยองค์การบริหารส่วนตำบลบ่อทอง ดำเนินการฟื้นฟูพื้นที่ที่ผ่านการทำเหมืองแร่ในบริเวณนี้ขึ้น โดยจัดทำเป็นพิพิธภัณฑ์เหมืองแร่ทองคำและปรับปรุงสภาพภูมิทัศน์โดยรอบเพื่อให้เป็นศูนย์วัฒนธรรมเป็นที่รวบรวมวัสดุสิ่งของ เครื่องมือ เครื่องใช้ และเป็นอนุสรณ์ ตลอดจนแหล่งความรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์การทำเหมืองแร่ทองคำที่สำคัญของไทยรวมถึงเป็นการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญภายในจังหวัดปราจีนบุรีอีกแห่งหนึ่งสืบต่อไป 
ทั้งนี้เมื่อวันศุกร์ที่ 14 มกราคม 2548 กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ ร่วมกับจังหวัดปราจีนบุรี และองค์การบริหารส่วนตำบลบ่อทอง ได้จัดพิธีเปิดพิพิธภัณฑ์เหมืองทองคำบ้านบ่อทองอย่างเป็นทางการ พร้อมทั้งมอบพิพิธภัณฑ์ดังกล่าวให้แก่จังหวัดปราจีนบุรี เพื่อให้จังหวัดส่งมอบต่อให้องค์การบริหารส่วนตำบลบ่อทองเป็นผู้ดูแลและใช้ประโยชน์ต่อไป
 
 Ban Bo Thong Gold Mine Museum 
Department of Primary Industries and Mines (DPIM) is a government agency under the Ministry of Industry. It is responsible for managing, organizing and developing mining industries and primary industries with sustainable development concept. It aims to increase the industrial productivity and competitiveness, and to fulfill the demand of mineral resources utilization while protecting environmental quality and the public safety. 
Regarding its environmental protection related to mining activities, the department has played an important role in post-mined land rehabilitation, especially the mined-out land owned by the government. For the past 20 years, DPIM has set up and implemented many rehabilitation projects for local utilization such as recreation park, forest plantation, public grazeland and also the memorial parks for the King and the Queen’s Birthday celebrations. These mined land rehabilitation projects are located in Phuket, Songkla, Trung, Yala and Ranong provinces. 
The gold deposits at Ban Bo Thong, Kabinburi district, Prachinburi Province, was found in 1871 which was in the reign of the King Rama V. Between 1873 and 1878, Prapreechakolakarn, the governor of Muang Prachinburi, was assigned to mine the site by using underground mining method (digging deep holes, shafts and tunnels into gold bearing rocks). Because of the depletion of gold ore reserve in shallow level, the mine was closed in 1878. After that the foreign joint venture companies named the Kabin Syndicate of Siam and the Societe des Mines de Kebin came in and mined the site by using the underground mining method to exploit the gold ores in deeper level. However, the operation was shut down when the World War I began. In 1950, Department of Mines (now the DPIM) set up the Center of Mining Industry. These gold deposits were came into operation again during 1950 and 1957. There was the record of 55 kilogrammes of pure gold obtained during these years. 
From the long historical perspective of gold mine at Ban Bo Thong, DPIM in cooperation with Prachinburi Province and Bo Thong Tambol Administrative Authority reclaimed the mined-out area about 6.50 acres, which is owned by the Bo Thong Tambol Administrative Authority, to be a Gold Mine Museum. The main activities also consist of collecting, preserving and conserving gold mining instruments and mining gears, and rehabilitating the surrounding area. It is hoped that the Gold Mine Museum will be using for an educational center of gold mining, a new recreation area for the local use, and can be developed to be a new tourist attraction site of the Prachinburi Province in the near future. 
The official opening of Ban Bo Thong Gold Mine Museum was on January 14, 2005 by the Director-General of the DPIM and the Prachinburi Governor. Presently, the using and maintenance of the Museum is under the responsibility of Bo Thong Tambol Administrative Authority. 
รายละเอียดเนื้อหาภาษาไทยและภาษาอังกฤ พร้อมภาพประกอบโปรดคลิก download