หลักการและการแก้ปัญหา
เครื่องอะตอมมิกแอบซอร์พชันสเปกโทรมิเตอร์ 
 ฐิติรัตน์ จารุวาระกูล 
 กลุ่มวิเคราะห์ สำนักอุตสาหกรรมพื้นฐาน 

 ไฟล์หลักการและการแก้ปัญหาเครื่อง ASS>> Click ที่นี่
 บทคัดย่อ 
การวิเคราะห์ด้วยเครื่องอะตอมมิกแอบซอร์พชันสเปกโทรมิเตอร์ (AAS) อาศัยหลักการที่ว่า เมื่อมีแสงจากแหล่งกำเนิดที่เหมาะสมผ่านเข้าไปชนอะตอมอิสระที่เป็นไอและอยู่ที่สภาวะพื้น อะตอมนี้จะดูดกลืนแสงไว้ทำให้ปริมาณแสงผ่านเข้าสู่เครื่องวัดน้อยลง โดยปริมาณการดูดกลืนแสงเป็นสัดส่วนโดยตรงกับความเข้มข้นของธาตุนั้นๆ เครื่อง AAS สามารถวิเคราะห์ธาตุได้มากกว่า 67 ธาตุ โดยผลวิเคราะห์ที่ได้จะมีความถูกต้องต่อเมื่อเครื่องจะต้องให้ค่าเกณฑ์มาตรฐาน อาทิเช่น ค่าความเที่ยงต่ำสุด ขีดกำจัดของการตรวจหา ความเป็นเส้นตรงของกราฟ และ สภาพไว ตรงตามเกณฑ์ที่ผู้ผลิตกำหนด จึงจะถือว่าเครื่องอยู่ในสภาพดีและทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ 
ปัญหาที่พบส่วนใหญ่ในการใช้เครื่อง AAS คือ สัญญาณที่วัดได้ต่ำกว่าที่ควร ไม่เสถียร และมีการรบกวนสูง วิธีการแก้ไขทำได้โดย ตรวจเช็คส่วนประกอบต่างๆ ให้อยู่ในสภาพปกติ ไม่ชำรุด ปรับตำแหน่งตะเกียง อัตราการดูดสารละลาย ความดันแก๊ส การลบค่าแบล็คกราวน์ ให้เหมาะสมตามที่คู่มือแนะนำ ทำความสะอาดชิ้นส่วนที่พบว่าเกิดการอุดตันหรือมีสิ่งกีดขวาง และสารละลายที่วัดควรเตรียมใช้ใหม่ๆทุกครั้ง  
สำหรับการบำรุงรักษาควรหมั่นเช็ดถูบริเวณตัวเครื่องหลังการใช้งาน เพื่อป้องกันการกัดกร่อน ตรวจสอบรอยรั่วของข้อต่อ วาล์วของท่อแก๊สต่างๆ ล้างทำความสะอาดบริเวณที่เกิดการอะตอมไมซ์ เช่น เนบิวไลเซอร์ สเปรย์แชมเปอร์ ถังดักจับของเหลว และตะเกียง เพื่อกำจัดสารตกค้างต่างๆ ตรวจเช็คอุปกรณ์ทุกชิ้น หากชำรุดหรือถึงกำหนดเปลี่ยนก็ควรเปลี่ยนใหม่ เพียงเท่านี้เครื่อง AAS ก็จะมีอายุการใช้งานยาวนาน 
......ผู้สนใจสามารถเปิดไฟล์เอกสารในรูปแบบของ .pdf ไฟล์ เพื่อศีกษาได้นะครับ......