ไซยาไนด์กับอุตสาหกรรมเหมืองแร่ทองคำ 
 ปริษา จารุวาระกูล 
 กลุ่มอุตสาหกรรมพื้นฐาน 4 สำนักอุตสาหกรรมพื้นฐาน กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ 

 ไฟล์ไซยาไนด์กับอุตสาหกรรมเหมืองแร่ทองคำ>> Click ที่นี่
 บทนำ... 
การประกอบการอุตสาหกรรมเหมืองแร่ทองคำในประเทศไทย เริ่มเป็นที่รู้จัก และได้รับการกล่าวถึงมากขึ้น สืบเนื่องมาจากการสำรวจพบว่า ประเทศไทยมีพื้นที่ที่มีศักยภาพแหล่งแร่ทองคำกระจายอยู่ทั่วไป และปัจจุบันมีบริษัทเอกชน 2 ราย ได้เปิดดำเนินการผลิตทองคำในเชิงพาณิชย์ คือ บริษัท อัครา ไมนิ่ง จำกัด และ บริษัท ทุ่งคำ จำกัด โดยการใช้สารไซยาไนด์ในขั้นตอนการแต่งแร่ ซึ่งจากประสบการณ์การการทำเหมืองแร่ก็เป็นที่ทราบกันดีว่าย่อมส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ตั้งแต่การระเบิดหิน การแต่งแร่ และการประกอบโลหกรรม ทำให้ธรรมชาติเสียสมดุล และไม่อาจฟื้นคืนสภาพดังเดิมในระยะเวลาสั้น ก่อให้เกิด ปัญหาสิ่งแวดล้อมด้านต่างๆ ตามมา ยิ่งไปกว่านั้นการดำเนินกิจกรรมของเหมืองแร่ทองคำมีการใช้สารเคมีที่เป็นพิษในปริมาณมาก ส่งผลให้ชุมชนที่อยู่ใกล้เคียงพื้นที่โครงการเกิดความวิตกกังวล รู้สึกไม่ปลอดภัยในการดำเนินชีวิต แต่อย่างไรก็ดี ถ้าผู้ประกอบการอุตสาหกรรมเหมืองแร่ทองคำมีการจัดการระบบสิ่งแวดล้อมที่ดีและมีการควบคุมอย่างเคร่งครัด ด้วยความตระหนักถึงประโยชน์แก่ผู้ปฏิบัติงาน ผู้ที่เกี่ยวข้อง ประชาชน และสังคมโดยรวม การประกอบการเหมืองแร่ทองคำย่อมส่งผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด 
ด้วยบทบาทและภารกิจหนึ่งของกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ คือ การกำกับดูแลการประกอบการเหมืองแร่ การแต่งแร่ และการประกอบโลหกรรม ให้เป็นไปตามกฎระเบียบที่กำหนดพร้อมทั้งการตรวจติดตามคุณภาพสิ่งแวดล้อม เพื่อเฝ้าระวังปัญหามลพิษที่อาจเกิดจากการประกอบการ ผู้เขียนจึงได้จัดทำเอกสารวิชาการเรื่อง ไซยาไนด์กับอุตสาหกรรมเหมืองแร่ทองคำ เพื่อรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับไซยาไนด์ กระบวนการสกัดทองคำออกจากแร่ด้วยไซยาไนด์ ซึ่งอันที่จริงเทคโนโลยีการสกัดทองคำออกจากแร่ด้วยไซยาไนด์มีด้วยกันหลายวิธี แต่วิธีที่นำเสนอเป็นวิธีที่ได้รับความนิยมทั่วโลก พร้อมทั้งอธิบายสารประกอบไซยาไนด์ต่างๆ ที่มักพบในขั้นตอนการสกัดทองคำ การบำบัดของเสียไซยาไนด์ที่เกิดขึ้น และเทคนิคการตรวจวิเคราะห์ปริมาณไซยาไนด์ รวมถึงแนวทางการป้องกันแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อมจากการประกอบการเหมืองแร่ทองคำ ซึ่งประกอบด้วย การควบคุมป้องกันสารพิษ การติดตามเฝ้าระวังสารมลพิษ และการแก้ไขปัญหามลพิษจากการประกอบการ เพื่อใช้เป็นแหล่งความรู้ เสริมความเข้าใจ เสริมสร้างความปลอดภัยในการทำงานให้ผู้ที่เกี่ยวข้องมีองค์ความรู้ที่ถูกต้อง ซึ่งจะช่วยบรรเทาความวิตกกังวลและปัญหาสิ่งแวดล้อมที่อาจเกิดขึ้นได้ 
 วัตถุประสงค์ 
1. เพื่อใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานสำหรับหน่วยงานราชการในการติดตามตรวจสอบและป้องกันการเกิดผลกระทบจากการประกอบกิจการการทำเหมืองแร่ทองคำด้วยไซยาไนด์
          2. เพื่อใช้เป็นเอกสารให้ความรู้แก่บุคคลทั่วไปที่สนใจเรื่องการทำอุตสาหกรรมเหมืองแร่ทองคำด้วยไซยาไนด์ 
......ผู้สนใจสามารถเปิดไฟล์เอกสารในรูปแบบของ .pdf ไฟล์ เพื่อศีกษาได้นะครับ......