แนวทางการออกแบบ ประเมินและตรวจสอบความลาดชันของหน้าเหมือง 
 สิทธิชัย จุทอง 
 กลุ่มกำกับดูแลการประกอบการ 

 ไฟล์slope_guide.pdf>> Click ที่นี่
 บทคัดย่อ 
การออกแบบ ประเมินและตรวจสอบความลาดชันของหน้าเหมืองสุดท้ายเพื่อให้ความลาดชันมีเสถียรภาพไม่มีผลกระทบต่อความมั่นคงปลอดภัยต่อสิ่งก่อสร้างสำคัญและสาธารณูปโภคที่ตั้งอยู่บริเวณใกล้เคียงกับขอบเขตหน้าเหมืองสุดท้าย ทั้งในช่วงระหว่างการทำเหมืองหรือหลังสิ้นสุดการทำเหมืองไปแล้วเป็นสิ่งสำคัญที่ผู้ออกแบบจะต้องคำนึงถึง ผู้ออกแบบจะต้องให้ความสำคัญในรายละเอียดการออกแบบ เพื่อประเมินเสถียรภาพความลาดชันของหน้าเหมืองสุดท้ายมากยิ่งขึ้น โดยต้องประเมินทำการตรวจสอบว่าความลาดชันของหน้าเหมืองสุดท้ายที่ออกแบบไว้มีเสถียรภาพเพียงพอหรือไม่ ถ้าหากว่าพิจารณาแล้วปรากฏว่าความลาดชันหน้าเหมืองที่ออกแบบไว้ไม่มีเสถียรภาพหรือคาดว่าอาจเกิดความไม่เสถียรภาพ ผู้ออกแบบจะต้องทำการประเมินระดับความเสี่ยงที่แท้จริง และแนวทางในการแก้ไขป้องกันที่สามารถกระทำได้ ผู้ประกอบการเหมืองแร่ต้องมีความระมัดระวังในการตรวจสอบและประเมินเสถียรภาพความลาดชันของหน้าเหมืองที่ผ่านการทำเหมืองมาแล้ว ก่อนที่จะทำการผลิตแร่หรือพัฒนาหน้าเหมืองบริเวณด้านบนหรือด้านล่าง 
บทความนี้จะนำเสนอแนวทางการออกแบบ ประเมินและตรวจสอบเสถียรภาพความลาดชันของหน้าเหมืองตลอดจนอิทธิผลของน้ำที่มีผลต่อเสถียรภาพของหน้าเหมือง โดยสามารถประยุกต์ใช้สำหรับเหมืองเปิดโดยทั่วไป เช่น เหมืองเปิดที่ทำเหมืองในหินแข็ง(bedrock deposit) การตัดความลาดชันของหน้าเหมืองในแหล่งแร่แบบลานแร่(unconsolidated deposit) การนำพื้นที่แหล่งแร่เดิมที่ผ่านการทำเหมืองไปแล้วกลับมาพัฒนาใหม่