กฎกระทรวง
ฉบับที่ 23 (พ.ศ. 2523)
ออกตามความในพระราชบัญญัติพิกัดอัตราค่าภาคหลวงแร่
พ.ศ. 2509

        อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติพิกัดอัตราค่าภาคหลวงแร่ พ.ศ. 2509 ซึ่ง แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติพิกัดอัตราค่าภาคหลวงแร่ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2520 มาตรา 5 และมาตรา 9 แห่งพระราชบัญญัติพิกัดอัตราค่าภาคหลวงแร่ พ.ศ. 2509 กับมาตรา 6 และมาตรา 7 แห่งพระราช บัญญัติพิกัดอัตราค่าภาคหลวงแร่ พ.ศ. 2509 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติพิกัด อัตราค่าภาคหลวง แร่ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2522 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้
        ข้อ 1 ให้ยกเลิก
               (1) กฎกระทรวง ฉบับที่ 18 (พ.ศ. 2521) ออกตามความในพระราชบัญญัติพิกัดอัตรา ค่าภาคหลวงแร่ พ.ศ. 2509
               (2) กฎกระทรวง ฉบับที่ 20(พ.ศ. 2522) ออกตามความในพระราชบัญญัติพิกัดอัตรา ค่าภาคหลวงแร่ พ.ศ. 2509

        ข้อ 2 ให้เรียกเก็บค่าภาคหลวงแร่ดีบุก ตามราคาที่อธิบดีประกาศในอัตรา ดังต่อไปนี้
               (1) ร้อยละศูนย์จุดหนึ่งของราคาโลหะดีบุกต่อหกสิบกิโลกรัม สำหรับราคาส่วนที่เกินสาม พันบาท แต่ไม่เกินเจ็ดพันบาท
               (2) ร้อยละห้าของราคาโลหะดีบุกต่อหกสิบกิโลกรัม สำหรับราคาส่วนที่เกินเจ็ดพันบาท แต่ไม่เกินเก้าพันบาท
               (3) ร้อยละสิบห้าของราคาโลหะดีบุกต่อหกสิบกิโลกรัม สำหรับราคาส่วนที่เกินเก้าพันบาท แต่ไม่เกินหนึ่งหมื่นหนึ่งพันบาท
               (4) ร้อยละสามสิบของราคาโลหะดีบุกต่อหกสิบกิโลกรัมสำหรับราคาส่วนที่เกินหนึ่งหมื่นหนึ่ง พันบาท แต่ไม่เกินหนึ่งหมื่นสี่พันบาท
               (5) ร้อยละสี่สิบของราคาโลหะดีบุกต่อหกสิบกิโลกรัม สำหรับราคาส่วนที่เกินหนึ่งหมื่นสี่พัน บาท แต่ไม่เกินหนึ่งหมื่นเจ็ดพันบาท
               (6) ร้อยละห้าสิบของราคาโลหะดีบุกต่อหกสิบกิโลกรัม สำหรับราคาส่วนที่เกินหนึ่งหมื่นเจ็ด พันบาท แต่ไม่เกินสองหมื่นบาท
               (7) ร้อยละหกสิบของราคาโลหะต่อหกสิบกิโลกรัม สำหรับราคาส่วนที่เกินสองหมื่นบาทขึ้นไป
        ข้อ 3 ให้เรียกเก็บค่าภาคหลวงแร่ชนิดที่มีทังสติกออกไซด์ ตามราคาที่อธิบดีประกาศในอัตรา ดังต่อไปนี้
               (1) ร้อยละศูนย์จุดหนึ่งของราคาแร่ชนิดที่มีทังสติกออกไซด์ต่อหนึ่งหาบหลวง สำหรับราคา ที่ไม่เกินสามพันบาท
               (2) ร้อยละห้าของราคาแร่ชนิดที่มีทังสติกออกไซด์ต่อหนึ่งหาบหลวง สำหรับราคาส่วนที่เกิน สามพันบาทแต่ไม่เกินสี่พันบาท
               (3) ร้อยละสิบของราคาแร่ชนิดที่มีทังสติกออกไซด์ต่อหนึ่งหาบหลวง สำหรับราคาส่วนที่เกิน สี่พันบาท แต่ไม่เกินห้าพันบาท
               (4) ร้อยละสิบห้าของราคาแร่ชนิดที่มีทังสติกออกไซด์ต่อหนึ่งหาบหลวง สำหรับราคาส่วนที่ เกินห้าพันบาท แต่ไม่เกินหกพันบาท
               (5) ร้อยละยี่สิบของราคาแร่ชนิดที่มีทังสติกออกไซด์ต่อหนึ่งหาบหลวง สำหรับราคาส่วนที่เกิน หกพันบาทขึ้นไป
        ข้อ 4 ให้เรียกเก็บค่าภาคหลวงแร่ทองคำ ในอัตราร้อยละสองจุดห้าของราคาที่อธิบดีประกาศ
        ข้อ 5 ให้เรียกเก็บค่าภาคหลวงแร่เงินในอัตราร้อยละสิบของราคาที่อธิบดีประกาศ
        ข้อ 6 ให้เรียกเก็บค่าภาคหลวงแร่แทนทาไลท์และแร่โคลัมไบท์ที่รวมกันอยู่ ในอัตราร้อยละยี่สิบ ของราคาที่อธิบดีประกาศ
        ข้อ 7 ให้เรียกเก็บค่าภาคหลวงตะกรันที่มีโคลัมเบียมเพนตอกไซด์ หรือตันตาลัมเพนตอกไซด์ หรือ ทั้งสองชนิดรวมกันอยู่ ในอัตราร้อยละห้าของราคาที่อธิบดีประกาศ
        ข้อ 7 ทวิ ให้เรียกเก็บค่าภาคหลวงแร่ตะกั่ว ตามราคาที่อธิบดีประกาศในอัตรา ดังต่อไปนี้
                   (1) ร้อยละสองของ ราคาแร่ตะกั่วต่อหนึ่งเมตริกตัน สำหรับราคาที่ไม่เกินแปดพันบาท
                   (2) ร้อยละห้าของ ราคาแร่ตะกั่วต่อหนึ่งเมตริกตัน สำหรับราคาส่วนที่เกินแปดพันบาท แต่ไม่เกินหนึ่งหมื่นสองพันบาท
                   (3) ร้อยละสิบของ ราคาแร่ตะกั่วต่อหนึ่งเมตริกตัน สำหรับราคาส่วนที่เกินหนึ่งหมื่นสอง พันบาท แต่ไม่เกินสองหมื่นบาท
                   (4) ร้อยละสิบห้าของ ราคาแร่ตะกั่วต่อหนึ่งเมตริกตัน สำหรับราคาส่วนที่เกินสองหมื่น บาทขึ้นไป
        ข้อ 7 ตรี ให้เรียกเก็บค่าภาคหลวงแร่สังกะสี ตามราคาที่อธิบดีประกาศในอัตรา ดังต่อไปนี้
                   (1) ร้อยละสองของ ราคาแร่สังกะสีต่อหนึ่งเมตริกตัน สำหรับราคาที่ไม่เกินหนึ่งหมื่น บาท
                   (2) ร้อยละห้าของ ราคาแร่สังกะสีต่อหนึ่งเมตริกตัน สำหรับราคาส่วนที่เกินหนึ่งหมื่น บาท แต่ไม่เกินสองหมื่นบาท
                   (3) ร้อยละสิบของ ราคาแร่สังกะสีต่อหนึ่งเมตริกตัน สำหรับราคาส่วนที่เกินสองหมื่น บาท แต่ไม่เกินสามหมื่นบาท
                   (4) ร้อยละสิบห้าของ ราคาแร่สังกะสีต่อหนึ่งเมตริกตัน สำหรับราคาส่วนที่เกินสามหมื่น บาทขึ้นไป
        ข้อ 7 จัตวา ให้เรียกเก็บค่าภาคหลวงแร่แบไรท์บด ประเภทที่มีส่วนประกอบของแบเรียมซัลเฟต ตั้งแต่ร้อยละเก้าสิบเอ็ดขึ้นไป และมีความขาวตั้งแต่ร้อยละแปดสิบขึ้นไปกับประเภทที่มีส่วนประกอบของ แบเรียมซัลเฟตต่ำกว่าร้อยละเก้าสิบเอ็ด หรือมีความขาวต่ำกว่าร้อยละแปดสิบ ในอัตราร้อยละสองของราคาที่ อธิบดีประกาศตามประกาศของแร่นั้น
        ข้อ 7 เบญจ ให้เรียกเก็บค่าภาคหลวงแร่หินประดับ ในอัตราร้อยละสี่ของราคา ซึ่งอธิบดีประกาศ
        ข้อ 7 ฉ ให้เรียกเก็บค่าภาคหลวงแร่หินอุตสาหกรรมในอัคราร้อยละสี่ของราคา ซึ่งอธิบดีประกาศ
        ข้อ 8 ให้เรียกเก็บค่าภาคหลวงแร่อื่นในอัตราร้อยละของราคาที่อธิบดีประกาศตามอัตราค่าภาค หลวงแร่ท้ายกฎกระทรวงนี้
                                                                
                                         ให้ไว้ ณ วันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2523
                                             ลงชื่อ พลตรี ชาติชาย ชุณหะวัณ
                                           รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม


บัญชีแร่และอัตราค่าภาคหลวงแร่
ท้ายกฎกระทรวง ฉบับที่ 23 (พ.ศ. 2523) และที่แก้ไขเพิ่มเติม
เลขลำดับ
รายการ
ค่าภาคหลวงแร่
ร้อยละของราคา
ซึ่งประกาศ
1
(ก) แร่
เกลือหิน
4
2
แกรไฟท์
4
3
ควอทซ์
4
4
เคโอลิไนท์
4
5
แคลไซท์
4
6
โคลัมเบียมตันตาลัม
5
7
โครไมท์
4
8
ซีโนไทม์
5
9
เซอร์กอน
4
10
โดโลไมท์
4
11
ถูกยกเลิกโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 35 (พ.ศ. 2529)
-
12
ทองแดง
10
13
ทัลค์
4
14
แบไรท์ก้อน
7
15
ถูกยกเลิกโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 40 (พ.ศ. 2530)
-
16
พลวง
10
17
พลวงที่ลนไฟแล้ว
10
18
ไพโรฟิลไลท์
4
19
ฟอสเฟส
4
20
เฟลสปาร์
4
21
ฟลูออไรท์
7
22
ฟลูออไรท์ทางเคมี
4
23
มังกานีสที่ใช้งานทางโลหกรรม
(1) ชนิดซิลิเซียส
(2) ชนิดเฟอรูยินัส
(3) ชนิดอื่น
2.5
2.5
2.5
24
มังกานีสที่ใช้ทำแบตเตอรี่
7
25
มังกานีสที่ใช้สำหรับอุตสาหกรรมเคมี
4
26
แมกนีไซท์
7
27
โมนาไซท์
7
28
โมลิบเดไนท์
10
29
ยิปซั่ม
4
30
ใยหิน
4
31
รูไทล์
7
32
ถูกยกเลิกโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 35 (พ.ศ. 2529)
-
33
เหล็ก
4.5
34
อิลเมไนท์
2
35
ดินขาวสำหรับใช้ทำเครื่องกระเบื้อง เครื่องเคลือบ เครื่องซีเมนต์ เครื่องพลาสติก ดินเผาหรือวัตถุทนไฟ
4
36
ดินขาวสำหรับใช้ในอุตสาหกรรมกระดาษ
4
37
ดินขาวสำหรับใช้ในอุตสาหกรรมเคมี
4
38
ดินทนไฟ
4
39
ดินเบาหรือไดอาตอมไมท์หรือไดอาตอมเมเซียสเอิร์ท
2
40
ดินสอพองหรือดินมาร์ล
4
41
ทรายแก้วหรือทรายขาวหรือทรายซิลิกา
4
42
ถ่านหิน
4
43
บอลเคลย์
4
44-49
ถูกยกเลิกโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 53 (พ.ศ. 2539)
-
50
หินอ่อน
4
51
สารหนู
7
52
อีเมอรี่
4
53
การ์เนต
2
54
ลูโคซีน
2
55
ดิกไคต์
4
56
พาโกไดต์
4
57
หินสบู่
4
58-63
ถูกยกเลิกโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 53 (พ.ศ. 2539)
-
64
ไมกา
4
65
แอนโฮไดรต์
4
1
(ข) โลหะ
2.5
ตะกั่ว
2
ทองแดง
2.5
3
พลวง
2.5
4
สังกะสี
2.5
5
เหล็ก
2
6
แคดเมียม
2.5
1
(ค) ตะกรัน
10
ที่มีแคดเมียมเจือปนอยู่
2
ที่มีดีบุกเจือปนอยู่
15
3
ที่มีตะกั่วเจือปนอยู่
10
4
ที่มีทังสเตนไทรออกไซด์เจือปนอยู่
15
5
ที่มีทองแดงเจือปนอยู่
10
6
ที่มีนิกเกลเจือปนอยู่
10
7
ที่มีบิสมัทเจือปนอยู่
10
8
ที่มีสังกะสีเจือปนอยู่
10
9
ที่มีสารหนูเจือปนอยู่
10