พระราชบัญญัติควบคุมแร่ดีบุก
พ.ศ. 2514
|
------------------
|
ภูมิพลอดุลยเดช
ป.ร.
|
ให้ไว้
ณ วันที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2514
|
เป็นปีที่
26 ในรัชกาลปัจจุบัน
|
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการ โปรดเกล้าฯให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยการควบคุมแร่ดีบุก
จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้ โดยคำแนะนำและยินยอมของรัฐสภา ดังต่อไปนี้
มาตรา 1 พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า "พระราชบัญญัติควบคุมแร่ดีบุก พ.ศ. 2514"
มาตรา 2 พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศใน ราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป บทบัญญัติหมวด 1 แห่งพระราชบัญญัติ นี้จะให้ใช้บังคับเมื่อใด ให้ประกาศโดยพระราชกฤษฎีกา
มาตรา 3 ให้ยกเลิก
(1) พระราชบัญญัติควบคุมแร่ดีบุก พุทธศักราช 2479
(2) พระราชบัญญัติควบคุมแร่ดีบุก (ฉบับที่ 2) พุทธศักราช 2479
(3) พระราชบัญญัติควบคุมแร่ดีบุก (ฉบับที่ 3) พุทธศักราช 2499
บรรดาบทกฎหมาย กฎ และข้อบังคับอื่น ในส่วนที่มีบัญญัติไว้แล้วในพระราชบัญญัตินี้ หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับบทแห่งพระราชบัญญัตินี้ ให้ใช้ พระราชบัญญัตินี้แทนวิเคราะห์ศัพท์
มาตรา 4 ในพระราชบัญญัตินี้
"แร่" หมายความว่า แร่ดีบุกที่ถลุงแล้วหรือที่ยังมิได้ถลุง และหมายความตลอดถึงแร่ชนิดอื่นที่มีเนื้อดีบุกเจือปนอยู่เกินร้อยละสี่ของแร่นั้นๆ แต่ ไม่หมายความถึงแร่ชนิดอื่นที่มี เนื้อดีบุกเจือปนอยู่เกินร้อยละสี่แต่ไม่เกินร้อยละแปดของแร่นั้นๆ ตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
"ทำเหมือง" หมายความว่า การกระทำแก่พื้นที่ไม่ว่าจะเป็นที่บกหรือที่น้ำ เพื่อให้ได้มาซึ่งแร่ด้วยวิธีการอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายวิธี
"ผู้ทำเหมือง" หมายความว่า ผู้ถือประทานบัตรหรือผู้รับใบอนุญาตทำเหมืองชั่วคราวตามกฎหมายว่าด้วยแร่
"ใบสุทธิแร่" หมายความว่า หนังสือสำคัญที่ออกให้ผู้ทำเหมือง ทำเหมือง ขายแร่ และส่งแร่ออกนอกราชอาณาจักรตามโควตาภายในกำหนด ระยะเวลาโควตาและเงื่อนไขดังระบุ ไว้ในหนังสือสำคัญนั้น
"โควตา" หมายความว่า จำนวนส่วนควบคุมแร่ที่กำหนดให้พึงทำเหมืองได้ใน เหมืองแร่รายหนึ่งๆ เป็นส่วนร้อยของจำนวนแร่ทำเหมืองภายใน กำหนดระยะเวลา
"ระยะเวลาโควตา" หมายความว่า กำหนดระยะเวลาซึ่งจะพึงทำเหมืองและ จำหน่ายแร่ตามโควตา
"จำนวนแร่ทำเหมือง" หมายความว่า จำนวนแร่ซึ่งเหมืองแร่รายหนึ่งๆ พึงทำเหมืองได้ในปีหนึ่งๆ ตามที่คณะกรรมการประเมินกำหนด
"คณะกรรมการประเมิน" หมายความว่า คณะกรรมการซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งตามพระราชบัญญัตินี้
"ผู้ซื้อแร่" หมายความว่า ผู้รับใบอนุญาตซื้อแร่ตามกฎหมายว่าด้วยแร่
"อธิบดี" หมายความว่า อธิบดีกรมทรัพยากรธรณี
"โควตา" หมายความว่า จำนวนส่วนควบคุมแร่ที่กำหนดให้พึงทำเหมืองได้ใน เหมืองแร่รายหนึ่ง ๆ เป็นส่วนร้อยของจำนวนแร่ทำเหมืองภายใน กำหนดระยะเวลา
"ระยะเวลาโควตา" หมายความว่า กำหนดระยะเวลาซึ่งจะพึงทำเหมืองและจำหน่ายแร่ตามโควตา
"จำนวนแร่ทำเหมือง" หมายความว่า จำนวนแร่ซึ่งเหมืองแร่รายหนึ่งๆ พึงทำเหมืองได้ในปีหนึ่งๆ ตามที่คณะกรรมการประเมินกำหนด
"คณะกรรมการประเมิน" หมายความว่า คณะกรรมการซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งตามพระราชบัญญัตินี้
"ผู้ซื้อแร่" หมายความว่า ผู้รับใบอนุญาตซื้อแร่ตามกฎหมายว่าด้วยแร่
"อธิบดี" หมายความว่า อธิบดีกรมทรัพยากรธรณี
"รัฐมนตรี" หมายความว่า รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
รัฐมนตรีผู้รักษาตาม พ.ร.บ.นี้
มาตรา 5 ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพัฒนาการแห่งชาติรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจออกกฎกระทรวงเพื่อปฏิบัติการตาม พระราชบัญญัตินี้
ในส่วนที่เกี่ยวกับการศุลกากร ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจออกกฏกระทรวงเพื่อ ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ด้วย กฎกระทรวงนั้นเมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้หมวด 1
การทำเหมือง การซื้อแร่ การขายแร่ และ การส่งแร่ออกนอกราชอาณาจักรผู้ประกอบกิจการต้องมีใบสุทธิแร่
มาตรา 6 ห้ามมิให้ผู้ทำเหมือง ทำเหมือง ขายแร่ หรือส่งแร่ออกนอกราชอาณาจักร เว้นแต่จะได้รับใบสุทธิแร่ยื่นคำขอใบสุทธิแร่
มาตรา 7 ผู้ทำเหมืองผู้ใดประสงค์จะขอใบสุทธิแร่ให้ยื่นคำขอต่อทรัพยากรธรณี ประจำท้องที่ตามแบบพิมพ์ที่กรมทรัพยากรธรณีกำหนดคณะกรรมการประเมิน
มาตรา 8 ให้มีคณะกรรมการประเมินขึ้นคณะหนึ่งประกอบด้วยบุคคลซึ่งรัฐมนตรี แต่งตั้งไม่น้อยกว่าห้าคนแต่ไม่เกินเก้าคน เพื่อประเมิน กำหนดจำนวนแร่ทำเหมืองของเหมืองแร่ รายหนึ่งๆ ตามหลักเกณฑ์ซึ่งรัฐมนตรีประกาศในราชกิจจานุเบกษาการออกใบสุทธิแร่
มาตรา 9 ทรัพยากรธรณีประจำท้องที่เป็นผู้ออกใบสุทธิแร่ตามส่วนระยะเวลา และ ส่วนร้อยของจำนวนแร่ทำเหมืองที่คณะกรรมการประเมิน กำหนด ใบสุทธิแร่ให้เป็นไปตามแบบที่กำหนดในกฎกระทรวงอุทธรณ์จำนวนแร่ทำเหมือง
มาตรา 10 ผู้รับใบสุทธิแร่รายใดไม่พอใจจำนวนแร่ทำเหมืองของตนให้อุทธรณ์ต่อ รัฐมนตรี โดยยื่นคำขออุทธรณ์ต่อทรัพยากรธรณีประจำ ท้องที่ภายในกำหนดสิบห้าวันนับแต่วันรับ ใบสุทธิแร่ คำวินิจฉัยของรัฐมนตรีให้เป็นที่สุดขอรับใบแทนใบสุทธิแร่
มาตรา 11 ถ้าใบสุทธิแร่ชำรุดในสารสำคัญ สูญหายหรือถูกทำลาย ผู้รับใบสุทธิแร่อาจขอรับใบแทนต่อทรัพยากรธรณีประจำท้องที่ได้ โดย ทรัพยากรธรณีประจำท้องที่จะออกใบแทน ให้ภายในเจ็ดวันนับแต่วันยื่นคำขอการเพิ่มหรือลดโควตา
มาตรา 12 ในระยะเวลาโควตาหนึ่ง ๆ ผู้รับใบสุทธิแร่ผู้ใดทำเหมืองได้เกินโควตาที่ได้รับรัฐมนตรีอาจพิจารณาเพิ่มโควตาให้ได้ แต่ถ้าผู้รับ ใบสุทธิแร่ผู้ใดไม่สามารถทำเหมืองได้เต็มโควตาที่ได้รับรัฐมนตรีอาจลดโควตาลงได้การนำโควตาที่เหลือไปให้เหมืองรายอื่นในโควตาเดียวกัน
มาตรา 13 เพื่อควบคุมให้การส่งแร่ออกนอกราชอาณาจักรได้ตามจำนวนที่กำหนด รัฐมนตรีจะให้นำโควตาที่เหลือจากผู้รับใบสุทธิแร่รายหนึ่ง ไปให้แก่ผู้ทำเหมืองรายอื่นในระยะเวลาโควตาเดียวกันก็ได้โอนโควตา
มาตรา 14 ในระยะเวลาโควตาหนึ่งๆ อธิบดีโดยความเห็นชอบของรัฐมนตรี จะโอนโควตาจากใบสุทธิแร่ฉบับหนึ่งหรือหลายฉบับไปเพิ่มลงใน ใบสุทธิแร่อีกฉบับหนึ่งก็ได้ เมื่อ ผู้รับใบสุทธิแร่เหล่านั้นร้องขอ แต่เมื่อรวมโควตาทั้งหมดแล้วจะต้องไม่เกินจำนวนแร่ทำเหมืองของใบสุทธิแร่ ฉบับที่ได้รับโอนโควตามาเพิ่มนั้นขอรวมจำนวนแร่ทำเหมืองจากใบสุทธิแร่หลายฉบับ
มาตรา 15 ในระยะเวลาโควตาหนึ่งๆ ถ้าผู้ทำเหมืองผู้หนึ่งได้รับใบสุทธิแร่ สำหรับทำเหมืองในเขตเหมืองแร่หรือเขตที่ได้รับใบอนุญาตทำเหมือง ชั่วคราวของตนเป็นใบสุทธิแร่หลายฉบับ เมื่อผู้ทำเหมืองร้องขอให้รวมจำนวนแร่ทำเหมืองในใบสุทธิแร่หลายฉบับเข้าด้วยกัน ให้ทรัพยากรธรณี ประจำท้องที่บันทึกอนุญาตให้รวมจำนวนแร่ทำเหมืองลงในใบสุทธิแร่ตามคำร้องขอการเปลี่ยนแปลงโควตาให้ลดลงตามส่วนระยะเวลาโควตา
มาตรา 16 ในการทำเหมืองภายหลังวันเริ่มต้นระยะเวลาโควตา อธิบดีจะ เปลี่ยนแปลงโควตาของผู้ทำเหมืองให้ลดลงตามส่วนระยะเวลา โควตาที่เหลือก็ได้ขอทำเหมืองเพิ่มในเขตอื่นที่ติดต่อกัน
มาตรา 17 ในกรณีที่ผู้ทำเหมืองได้รับใบสุทธิแร่สำหรับทำเหมืองในเขตเหมืองแร่ หรือเขตที่ได้รับใบอนุญาตทำเหมืองชั่วคราวแล้ว และประสงค์ จะทำเหมืองในเขตเหมืองแร่หรือ เขตที่ได้รับใบอนุญาตทำเหมืองชั่วคราวของตนเองในเขตอื่นที่มีเขตติดต่อกันนั้น ให้ผู้ทำเหมืองนำใบสุทธิแร่มา แจ้งให้ทรัพยากรธรณีประจำท้องที่บันทึกเลขหมายประทานบัตรหรือใบอนุญาต ทำเหมืองชั่วคราวที่ผู้ทำเหมืองประสงค์จะทำเหมืองเพิ่มขึ้นนั้น ลงในใบสุทธิแร่ของผู้ทำเหมืองนั้นเสียก่อน แล้วจึงให้ทำเหมืองได้ผู้รับใบสุทธิแร่ตาย
มาตรา 18 ในกรณีที่ผู้รับใบสุทธิแร่ตาย ให้ทายาทหรือผู้จัดการมรดกของผู้รับ ใบสุทธิแร่นำใบสุทธิแร่ของผู้ตายไปให้ทรัพยากรธรณีประจำ ท้องที่ตรวจพิจารณาสลักหลังให้เพื่อใช้ใบสุทธิแร่นั้นต่อไปห้ามซื้อแร่จากผู้ทำเหมืองซึ่งมิได้ขายตามใบสุทธิแร่
มาตรา 19 ห้ามมิให้ผู้ซื้อแร่ซื้อแร่จากผู้ทำเหมือง เว้นแต่เป็นแร่ที่ผู้ทำเหมืองขาย ตามใบสุทธิแร่ และผู้ซื้อแร่ต้องบันทึกรายการซื้อพร้อมทั้ง ลงลายมือชื่อกำกับในใบสุทธิแร่ห้ามมีแร่ไว้ในครอบครอบเกินโควตา
มาตรา 20 ห้ามมิให้ผู้รับใบสุทธิมีแร่ไว้ในครอบครองของตนเอง หรือของผู้แทน หรือลูกจ้างเกินโควตาที่ด้รับตามใบสุทธิแร่ในระยะเวลาโควตา หนึ่งๆ เว้นแต่ภายในกำหนดอัตรา ปริมาณที่รัฐมนตรีจะประกาศในราชกิจจานุเบกษาให้มีไว้ในครอบครองเกินโควตาได้อำนาจสั่งระงับหรือให้ส่งแร่ออกนอกราชอาณาจักร
มาตรา 21 ในกรณีที่รัฐมนตรีเห็นว่าแร่ที่ผู้ซื้อแร่มีอยู่ในครอบครอง ถ้าจะให้ ส่งออกนอกราชอาณาจักรทั้งหมด จะกระทบกระเทือนปริมาณแร่ ส่งออกนอกราชอาณาจักร รัฐมนตรีอาจสั่งกำหนดอัตราส่วนให้ผู้ซื้อแร่ระงับการส่งแร่ทั้งหมดหรือบางส่วนออกนอกราชอาณาจักรได้
ในกรณีที่รัฐมนตรีเห็นว่าผู้ซื้อแร่สามารถจะส่งแร่ที่มีอยู่ในครอบครองออกนอกราชอาณาจักรได้ แต่ผู้ซื้อแร่ไม่ส่งออกนอกราชอาณาจักรและ การกักแร่นั้นจะกระทบกระเทือนปริมาณแร่ที่ส่งออกนอกราชอาณาจักร รัฐมนตรีอาจสั่งให้ส่งแร่ทั้งหมดหรือบางส่วนออกนอกราชอาณาจักรได้ส่งแร่ออกนอกฯ เพื่อการวิเคราะห์
มาตรา 22 แร่ที่ส่งออกนอกราชอาณาจักรเพื่อการวิเคราะห์แต่ละคราวไม่เกิน ห้าสิบกรัม ไม่อยู่ในบังคับแห่งบทบัญญัติในหมวดนี้อำนาจสั่งเพิกถอนใบสุทธิแร่หรือใบอนุญาตซื้อแร่
มาตรา 23 อธิบดีโดยความเห็นชอบของรัฐมนตรี มีอำนาจสั่งเพิกถอน ใบสุทธิแร่ หรือใบอนุญาตซื้อแร่ เมื่อปรากฏว่าได้มีการฝ่าฝืนหรือไม่ ปฏิบัติตามบทแห่งพระราชบัญญัตินี้