นายปิยะบุตร ชลวิจารณ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานเปิดการเสวนา เรื่อง โลจิสติกส์ผ่าวิกฤตอุตสาหกรรมไทย จัดโดย กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ (กพร.) กระทรวงอุตสาหกรรม เพื่อแลกเปลี่ยนแนวคิดและประสบการณ์ของผู้เชี่ยวชาญด้านโลจิสติกส์ที่ได้รับการยอมรับและกว้างขวางในวงการโลจิสติกส์ เพื่อร่วมกันพัฒนาโลจิสติกส์ของไทยให้มีความก้าวหน้าสู่ระดับโลกโดยเร็ว และยั่งยืนต่อไป เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2550 ณ ห้องประชุม ชั้น 1 กพร.
|
|
นายอนุสรณ์ เนื่องผลมาก อธิบดีกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ กล่าวรายงานการจัดเสวนา
|
นายจักรมณฑ์ ผาสุกวนิช ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม (กลาง) พร้อมด้วยนายธานินทร์ ผะเอม ที่ปรึกษาด้านนโยบายและแผนงาน สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ นายอิสระ ว่องกุศลกิจ ประธานคณะกรรมการพัฒนาระบบโลจิสติกส์ หอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย และนายธนิต โสรัตน์ รองเลขาธิการสายงานเศรษฐกิจ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ร่วมเสวนาเรื่อง "โลจิสติกส์ผ่าวิกฤตอุตสาหกรรมไทย" ดำเนินรายการโดย ผศ.ดร.วันชัย รัตนวงษ์ และ ผศ.ดร.ธนวรรธน์ พลวิชัย จากมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
นายปิยะบุตร ชลวิจารณ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า สืบเนื่องจากยุทธศาสตร์ของแผนบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2548 - 2551 ได้กำหนดให้การพัฒนาระบบโลจิสติกส์เป็นวาระแห่งชาติ โดยให้ความสำคัญในการพัฒนาโลจิสติกส์ทั้งระบบ เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจจากอุตสาหกรรม โลจิสติกส์และอุตสาหกรรมต่อเนื่อง กระทรวงอุตสาหกรรม ในฐานะเป็นผู้รับผิดชอบหลักในยุทธศาสตร์การปรับปรุงประสิทธิภาพระบบโลจิสติกส์ในภาคการผลิต จึงกำหนดแนวทางในการเร่งดำเนินการเพื่อยกระดับประสิทธิภาพและผลิตภาพของภาคอุตสาหกรรม ทั้งด้านความสามารถทักษะแรงงาน การพัฒนาปัจจัยสนับสนุนในการเพิ่มผลิตภาพ และที่สำคัญ คือ การบริหารจัดการโลจิสติกส์ในสถานประกอบการที่เชื่อมโยงถึงกันตลอดโซ่อุปทานเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด รวมถึงส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือในลักษณะเครือข่ายวิสาหกิจ มีระบบตรวจสอบย้อนกลับเพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับลูกค้าในต่างประเทศ สร้างความพร้อมให้ผู้ประกอบการไทยสามารถนำเทคโนโลยีสารสนเทศโลจิสติกส์ที่ทันสมัยมาประยุกต์ใช้ ตลอดจนยกระดับการบริหารจัดการโลจิสติกส์สำหรับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม เพื่อให้การพัฒนาโลจิสติกส์อุตสาหกรรมมีบูรณาการและสอดคล้องกับสภาวการณ์ของประเทศ ตลอดจนความต้องการของภาคเอกชน |
โดยกระทรวงอุตสาหกรรม ได้กำหนดยุทธศาสตร์และแผนที่เส้นทาง (Roadmap) การพัฒนา โลจิสติกส์และการจัดการโซ่อุปทานที่สอดคล้องกับการพัฒนาอุตสาหกรรมยุคใหม่ รวมทั้งได้ร่วมกับสภาอุตสาห กรรมแห่งประเทศไทย สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย และภาคการศึกษา จัดทำแผนปฏิบัติการพัฒนาระบบ โลจิสติกส์อุตสาหกรรม (ปี 2550 2554) ซึ่งกำหนดไว้ 4 ด้าน ได้แก่ การเชื่อมโยงระหว่างองค์กรตลอดโซ่ อุปทาน (Supply Chain Optimization) การปรับปรุงประสิทธิภาพโลจิสติกส์ภายในองค์กร (Internal Process Improvement) การพัฒนาขีดความสามารถด้านโลจิสติกส์ (Logistic Capacity Building) และการสร้างปัจจัยเอื้อเพื่อสนับสนุนการประกอบธุรกิจของภาคอุตสาหกรรม (Industrial Trade Facilitation) |
นายอนุสรณ์ เนื่องผลมาก อธิบดีกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ กล่าวว่า กรมอุตสาห กรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ (กพร.) ในฐานะที่เป็นหน่วยงานที่ได้รับมอบหมายจากกระทรวงอุตสาหกรรม ให้ดำเนินภารกิจด้านการส่งเสริมและพัฒนาระบบโลจิสติกส์อุตสาหกรรม ได้ดำเนินกิจกรรมที่สำคัญที่เป็นรูปธรรมในขณะนี้ ดังนี้ |
1. จัดทำแนวทางและวิธีการจัดการโลจิสติกส์ที่ดีที่สุด (Best practice) ของอุตสาหกรรมเหล็กและอุตสาหกรรมเซรามิก ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมเป้าหมายในแผนปฏิบัติการพัฒนาระบบโลจิสติกส์อุตสาหกรรม รวมถึงนำร่องการพัฒนาประสิทธิภาพโลจิสติกส์เชิงลึกในกลุ่มอุตสาหกรรมดังกล่าว |
2. สนับสนุนให้สถานประกอบการเหมืองแร่และอุตสาหกรรมพื้นฐาน มีการปรับปรุงประสิทธิภาพการจัดการโลจิสติกส์ รวมทั้งการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการจัดการโลจิสติกส์ภายในโรงงาน |
3. พัฒนาระบบตลาดสินค้าอุตสาหกรรมออนไลน์ หรือตลาดกลางอิเล็กทรอนิกส์ภายใต้ชื่อเว็บไซต์ www.industry4u.com ซึ่งเป็นแหล่งรวบรวมผู้ซื้อ ผู้ขาย ผู้ผลิต ผู้ให้บริการโลจิสติกส์ เพื่อการทำธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ และแลกเปลี่ยนความเห็นของผู้ประกอบการที่เป็นสมาชิกของระบบ โดยสมาชิกสามารถสืบค้นข้อมูลวัตถุดิบ สินค้าอุตสาหกรรม และการบริการ อีกทั้งเกิดการรวมกลุ่มการซื้อขาย เพื่อเพิ่มอำนาจต่อรองและซื้อในปริมาณที่จำเป็น ทำให้การประกอบธุรกิจเกิดความประหยัดและรวดเร็ว ช่วยลดต้นทุนการจัดซื้อจัดหา และการจัดจำหน่ายวัตถุดิบและสินค้าอุตสาหกรรม โดยระบบดังกล่าวได้เปิดให้บริการแล้วตั้งแต่เดือนเมษายน 2550 ที่ผ่านมา |
การเสวนาในครั้งนี้ จึงเป็นวาระสำคัญอีกวาระหนึ่งที่ภาครัฐและภาคอุตสาหกรรมจะได้นำเสนอ แลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นและประสบการณ์ เพื่อร่วมกันพัฒนาโลจิสติกส์ของไทยให้มีความก้าวหน้าสู่ระดับโลกโดยเร็ว และยั่งยืนต่อไป นายปิยะบุตร กล่าว |