|
นายอนุสรณ์ เนื่องผลมาก (ขวา) อธิบดีกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ และคณะผู้แทนกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ ได้พบปะหารือและแลกเปลี่ยนความเห็นเกี่ยวกับงานด้านโลจิสติกส์อุตสาหกรรม ร่วมกับ Miss Tse Siu-wa, Deputy Secretary (Transport), The Government of the Hong Kong Special Administrative Region, Transport and Housing Bureau ระหว่างวันที่ 23 - 25 กันยายน 2550 ณ เขตปกครองพิเศษฮ่องกง สาธารณรัฐประชาชนจีน โดยมีรายละเอียดการหารือ ดังนี้ |
ฮ่องกงเป็นเขตบริหารพิเศษที่ขึ้นตรงต่อรัฐบาลกลางของสาธารณรัฐประชาชนจีน รัฐบาลจีนได้ใช้นโยบาย หนึ่งประเทศสองระบบ ในการปกครองฮ่องกง ตามกฎหมายพื้นฐานที่ใช้ในการปกครองและบริหารฮ่องกงที่สภาประชาชนจีนได้อนุมัติและประกาศใช้เป็นกฎหมาย เมื่อวันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2533 โดยให้สิทธิฮ่องกงในการปกครองตนเองอย่างอิสระ สามารถดำเนินนโยบายทางด้านเศรษฐกิจ การค้า การเงิน การพาณิชย์ ฯลฯ ได้ตามระบบเสรี รัฐบาลจีนได้กำหนดให้ฮ่องกงสามารถดำเนินนโยบายเศรษฐกิจเสรีต่อไปได้อีกเป็นเวลา 50 ปี นับตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2540 ซึ่งเป็นวันที่รัฐบาลจีนได้รับฮ่องกงกลับคืนจากรัฐบาลอังกฤษ |
ฮ่องกงดำเนินนโยบายการค้าเสรีและเป็นเมืองท่าเสรี การดำเนินการค้าแบบเสรีมาตั้งแต่เดิมจนถึงปัจจุบันติดต่อกันมาเป็นเวลานาน ทำให้ฮ่องกงเป็นศูนย์กลางการพาณิชย์และการเงินที่สำคัญแห่งหนึ่งในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก นอกจากนี้ ฮ่องกงยังเป็นส่วนหนึ่งของขุมพลังทางเศรษฐกิจที่สำคัญของจีนในเขตเศรษฐกิจสามเหลี่ยมปากแม่น้ำซูเจียง หรือแม่น้ำเพิร์ล อันเปรียบเสมือนประตูการค้าเข้าสู่สาธารณรัฐประชาชนจีน |
รัฐบาลฮ่องกงได้ให้ความสำคัญต่อการพัฒนาระบบโลจิสติกส์อุตสาหกรรม โดยเฉพาะระบบ โลจิสติกส์การขนส่ง เนื่องจากภูมิประเทศของฮ่องกงมีความเอื้ออำนวยต่อการใช้เส้นทางขนส่งทางน้ำ ดังนั้น รัฐบาลฮ่องกงจึงได้ให้ความสำคัญต่อการพัฒนาระบบโลจิสติกส์ด้านการขนส่งทางน้ำ รัฐบาลเขตปกครองพิเศษฮ่องกงHong Kong Special Administrative Region Government (HKSAR Government) มีบทบาทในการผลักดันระบบโลจิสติกส์ด้านการขนส่ง เพื่อตอบสนองความต้องการของอุตสาหกรรมต่างๆ โดยมีบทบาทสำคัญ อาทิ การเอื้ออำนวยต่อความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม การจัดหาโครงสร้างพื้นฐานเพียงพอต่อความต้องการ และการจัดตั้งองค์กรที่เป็นพันธมิตรกับหน่วยงานเอกชน ได้แก่ The Hong Kong logistics Development Council, The Hong Kong Port Development Council, The Hong Kong Maritime Industry Council
|
The Hong Kong logistics Development Council (LOGSCOUNCIL) ได้รับการจัดตั้งโดย Logistics Hong Kong ของหน่วยงานภาครัฐ สมาชิกประกอบด้วยผู้แทนจากภาครัฐและเอกชน 40 คน ซึ่งรับนโยบายจาก The Steering Committee on Logistics Development เพื่อเป็นเวทีแลกเปลี่ยนและความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน ในการผลักดันโลจิสติกส์ของฮ่องกง |
The Hong Kong Port Development Council (PDC) จัดตั้งขึ้นในปี 2546 แทนหน่วยงาน the Hong Kong Port and Maritime Board สมาชิกประกอบด้วยผู้แทนจากภาครัฐและเอกชน 17 คน ซึ่งสมาชิก 12 คน เป็นผู้มีบทบาทต่ออุตสาหกรรมท่าเรือฮ่องกง PDC จัดตั้งขึ้นเพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันและการดึงดูดในการใช้ท่าเรือของฮ่องกง PDC ได้มีการหารือร่วมกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชนในการพัฒนาท่าเรือของฮ่องกงเพื่อเป็นศูนย์กลางท่าเรือทั้งระดับภูมิภาคและระดับโลก |
The Hong Kong Maritime Industry Council จะให้คำแนะนำแก่ Chief Executive โดยผ่านทาง the Secretary for Transport and Housing เพื่อพัฒนาฮ่องกงให้เป็นศูนย์กลางนานาชาติทางทะเลอย่างยั่งยืน ประกอบด้วยผู้แทนจากภาครัฐและเอกชน 19 ค |
การพัฒนาระบบโลจิสติกส์อุตสาหกรรมของฮ่องกงจะให้ความสำคัญต่อการพัฒนาด้านการขนส่งเป็นหลัก เนื่องจากการพัฒนาโลจิสติกส์ในอุตสาหกรรมอื่น ผู้ประกอบการต้องลงทุนในการพัฒนาระบบภายในของตนเองซึ่งต้องใช้ค่าใช้จ่ายที่สูง อีกทั้ง ฮ่องกงได้กำหนดยุทธศาสตร์ด้านโลจิสติกส์ อย่างชัดเจนด้านระบบการขนส่งทั้งทางน้ำ ทางบก และทางทะเล โดยเฉพาะด้านการขนส่งทางท่าเรือ การเปิดเสรีทางการค้าและเมืองท่าเสรี ซึ่งเป็นปัจจัยหลักที่สำคัญของฮ่องกงในการผลักดันเศรษฐกิจ สังคม การพาณิชย์ ตลอดจนด้านการเงิน ให้เจริญเติบโตและขับเคลื่อน สามารถแข่งขันกับนานาชาติได้
|
นอกจากนี้รัฐบาลฮ่องกงได้มีการพัฒนาระบบเครือข่ายดิจิตอล เพื่อให้ได้ข้อมูลด้านการบริหารการขนส่งที่ถูกต้อง รวดเร็วและสามารถจัดการบริหารการขนส่งสินค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น On Board Trucker Information System (OBTIS) Digital Trade and Transportation Network (DTTN) ส่งผลให้ฮ่องกงเป็นศูนย์กลางท่าเรือขนส่งสินค้าและท่าอากาศยานขนส่งสินค้าที่ใหญ่ระดับโลก ซึ่งในปี 2549 ฮ่องกงได้ให้บริการขนส่งทางเรือ 23.5 ล้าน TEUs (Twenty-foot equivalent units ) และร้อยละ 80 เป็นการขนส่งสินค้า โดยเชื่อมโยงไปกว่า 500 ท่าเรือทั่วโลก ซึ่งในแต่ละปีมีการขนส่งสินค้าและผู้โดยสารผ่านทางทะเลและแม่น้ำเฉลี่ย 231,100 เที่ยว |
การหารือแลกเปลี่ยนความคิดเห็นที่มีประโยชน์ต่อการพัฒนาระบบโลจิสติกส์ของไทยสรุปประเด็น ได้ดังนี้ |
การจัดตั้งองค์กรที่เป็นพันธมิตรร่วมระหว่างหน่วยงานภาครัฐและเอกชน เพื่อผลักดันนโยบายการพัฒนาโลจิสติกส์ในอุตสาหกรรมเป้าหมาย |
การนำระบบเครือข่ายดิจิตอล เพื่อเชื่อมโยงข้อมูลข่าวสาร รวดเร็ว ถูกต้อง แม่นยำและมีประสิทธิภาพ |
การสร้างพันธมิตรร่วมระหว่างประเทศเพื่อพัฒนาโลจิสติกส์สู่ความเป็นศูนย์กลางในภูมิภาค |