การประชุมหารือเพื่อระดมความเห็น
ร่าง Roadmap การพัฒนาระบบโลจิสติกส์ภาคอุตสาหกรรม
วันที่ 8 ตุลาคม 2552
ณ ห้องประชุม ชั้น 1 กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ 
 pr 
 pr 
นายเสน่ห์ นิยมไทย รองอธิบดีกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ ให้เกียรติเป็นประธานเปิดการประชุมหารือเพื่อระดมความเห็น ร่าง Roadmap การพัฒนาระบบโลจิสติกส์ภาคอุตสาหกรรม เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 8 ตุลาคม 2552 ณ ห้องประชุม ชั้น 1 กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ 
สืบเนื่องจากแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบโลจิสติกส์ของประเทศไทย (2550-2554) กำหนดแผนการพัฒนาระบบโลจิสติกส์ของประเทศเป็น 5 ยุทธศาสตร์หลัก ได้แก่
(1) การปรับปรุงประสิทธิภาพ โลจิสติกส์ในภาคการผลิต
(2) การเพิ่มประสิทธิภาพระบบขนส่งและโลจิสติกส์
(3) การพัฒนาธุรกิจ โลจิสติกส์
(4) การปรับปรุงสิ่งอำนวยความสะดวกทางการค้า
(5) การพัฒนากำลังคนและกลไกการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์
ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ได้กำหนดให้ กระทรวงอุตสาหกรรม เป็นเจ้าภาพการดำเนินการในยุทธศาสตร์ที่ 1 ซึ่งประกอบด้วยกลยุทธ์หลัก คือ
1) ส่งเสริมให้สถานประกอบการทั้งในภาคการเกษตร อุตสาหกรรมและบริการมีการประยุกต์ใช้เทคนิคการบริหารจัดการโลจิสติกส์ที่ทันสมัย
2) สนับสนุนการพัฒนาระบบบริหารจัดการโลจิสติกส์ที่เชื่อมโยงถึงกันตลอดห่วงโซ่อุปทาน 
กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ (กพร.) ซึ่งมีบทบาทและภารกิจในการพัฒนาระบบโลจิสติกส์ของภาคอุตสาหกรรม ได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปีงบประมาณ 2549 นอกจากนี้ ยังได้ปฏิบัติหน้าที่ในฐานะกรรมการและเลขานุการของคณะกรรมการ/คณะอนุกรรมการด้านพัฒนาระบบโลจิสติกส์อุตสาหกรรมทั้งในระดับกระทรวงและระดับประเทศ ซึ่งในปีงบประมาณ 2552 กพร. และสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (สอท.) สำนักงานคณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) และสำนักงานกองทุนการวิจัย (สกว.) ได้ร่วมจัดประชุมหารือเพื่อจัดทำข้อเสนอประเด็นปัญหาด้านโลจิสติกส์รายอุตสาหกรรม และได้กำหนดอุตสาหกรรมเป้าหมายเป็น 13 กลุ่มอุตสาหกรรม ได้แก่ 1) อุตสาหกรรมอาหาร 2) อุตสาหกรรมน้ำตาลทราย 3) อุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ 4) อุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้า 5) อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ 6) อุตสาหกรรมยา 7) อุตสาหกรรมเหมืองแร่ 8) อุตสาหกรรมเซรามิก 9) หัตถอุตสาหกรรม 10) อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม 11)อุตสาหกรรมปิโตรเคมีและพลาสติก 12) อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์จากยางพารา 13) ของเสียและวัสดุเหลือใช้ 
ทั้งนี้ การจัดประชุมหารือในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดทำแผนการดำเนินงานพัฒนาระบบโลจิสติกส์รายอุตสาหกรรมให้สอดคล้องกับสถานการณ์ และเพื่อการคัดเลือกและกำหนดขั้นตอนการพัฒนาการจัดการโลจิสติกส์ของกลุ่มอุตสาหกรรมที่มีต้นทุนโลจิสติกส์ในหมวดต้นทุนการถือครองสินค้า (Inventory Carrying Cost) สูง
รวมทั้งเพื่อบูรณาการความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคการศึกษาให้เกิดการพัฒนาระบบโลจิสติกส์อุตสาหกรรมอย่างต่อเนื่องต่อไป 

นางอนงค์ ไพจิตรประภาภรณ์ ผู้อำนวยการสำนักโลจิสติกส์ กล่าวรายงาน

 

นายเสน่ห์ นิยมไทย รองอธิบดีกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ กล่าวเปิดการประชุม

 
 บรรยากาศการประชุม 
ที่มา : http://logistics.dpim.go.th/news/detail.php?id=3924