|
สถิติการนำเข้าแร่ของประเทศไทย ปี 2560-2561 (ไตรมาสที่ 1) ข้อมูลเบื้องต้น
|
การนำเข้าแร่ในช่วงปี 2561 ในช่วงไตรมาสแรกมีมูลค่าการนำเข้า 16,047.9 ล้านบาท หดตัวลงเล็กน้อยคิดเป็นร้อยละ 1.34 เมื่อเทียบกับปีก่อนในช่วงเวลาเดียวกัน ซึ่งมีมูลค่าการนำเข้า 16,265.1 ล้านบาท
กลุ่มแร่เชื้อเพลิงเป็นกลุ่มแร่ยังคงเป็นกลุ่มแร่หลักในการนำเข้ามากที่สุดและต่อเนื่อง เนื่องจากเป็นกลุ่มทรัพยากรแร่ซึ่งเป็นวัตถุดิบในการผลิตพลังงานที่จำเป็นต่อการผลิตไฟฟ้าและภาคอุตสาหกรรม ซึ่งมีมูลค่าการนำเข้าสูงถึง 11,659.9 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 72.66 จากมูลค่าการนำเข้าแร่รวมทั้งหมด ซึ่งมีสัดส่วนการนำเข้าลดลงเมื่อเทียบกับปีก่อนในช่วงเวลาเดียวกันซึ่งมีสัดส่วนร้อยละ 77.70 อาจเป็นเพราะปัจจัยอุปสงค์ที่หันไปใช้พลังงานธรรมชาติเพิ่มมากขึ้น จึงส่งผลกระทบกับมูลค่าในภาพรวมทั้งหมดลดลงไปด้วย โดยถ่านหินบิทูมินัสและถ่านหินชนิดอื่นๆ ยังคงมีมูลค่าการนำเข้าอยู่ในอันดับสูงสุด โดยถ่านหินบิทูมินัสมีมูลค่าการนำเข้า 4,853.9 ล้านบาท และถ่านหินชนิดอื่นๆ มีมูลค่าการนำเข้า 6,491.5 ล้านบาท
รองลงมาได้แก่ กลุ่มแร่โลหะพื้นฐาน มีสัดส่วนการนำเข้าร้อยละ 9.61 ของมูลค่าการนำเข้าแร่รวมทั้งหมด ซึ่งมีมูลค่ารวม 1,541.4 ล้านบาท แร่ที่มีการนำเข้าสูงสุดในกลุ่มนี้ ได้แก่ แร่ดีบุก มีมูลค่าการนำเข้า 1,440.0 ล้านบาท ซึ่งมีอัตราเพิ่มขึ้นร้อยละ 49.77 ประเทศไทยมีผลผลิตแร่ในจำนวนไม่มากนัก ในขณะที่ความต้องการภายในประเทศที่ขยายตัวเพิ่มขึ้น จึงจำเป็นต้องมีการนำเข้าแร่จากต่างประเทศให้เพียงพอต่อความต้องการบริโภคภายในประเทศ
สำหรับแร่ทัลค์ แร่ไนโอเบียมและวาเนเดียม และโมลิบดิไนต์ มีมูลค่าการนำเข้าอยู่ในลำดับต้นๆ และใกล้เคียงกันซึ่งอยู่ที่ 354.7, 348.6 และ 329.3 ล้านบาท ตามลำดับ
.................................................................................................................................................................................. จัดทำโดย : ยุพิน พินิจศักดิ์ |
|
|