Mineral Import of Thailand 2017 - 2018 (First half year) 
 กลุ่มสถิติและพัฒนาข้อมูล 
 ศสท 

 ไฟล์>> Click ที่นี่
 สถิติการนำเข้าแร่ของประเทศไทย ปี 2560-2561 (ครึ่งปีแรก) 
การนำเข้าแร่ในช่วงปี 2561 ในช่วงครึ่งปีแรกมีมูลค่าการนำเข้า 35,213.0 ล้านบาท ขยายตัวขึ้นคิดเป็นร้อยละ 2.64 เมื่อเทียบกับปีก่อนในช่วงเวลาเดียวกัน ซึ่งมีมูลค่าการนำเข้า 34,306.1 ล้านบาท

กลุ่มแร่หลักที่มีการนำเข้ามากที่สุดและต่อเนื่องมาโดยตลอดคงเป็นกลุ่มแร่เชื้อเพลิง นับได้ว่าเป็นทรัพยากรแร่ซึ่งใช้เป็นวัตถุดิบหลักในการผลิตพลังงานเพื่อผลิตไฟฟ้าและใช้เป็นเชื้อเพลิงในภาคอุตสาหกรรม ซึ่งมีมูลค่าการนำเข้าสูงถึง 26,327.2 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 74.77 จากมูลค่าการนำเข้าแร่รวมทั้งหมด สัดส่วนการนำเข้าลดลงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับปีก่อนในช่วงเวลาเดียวกันซึ่งมีสัดส่วนร้อยละ 76.89 เนื่องจากถ่านหินบิทูมินัสซึ่งเป็นถ่านหินที่มีคุณภาพสูงมีการนำเข้าที่ลดลง อาจเป็นเพราะปัจจัยอุปสงค์ที่หันไปใช้พลังงานธรรมชาติเพิ่มมากขึ้น อย่างไรก็ตามถ่านหินบิทูมินัสและถ่านหินชนิดอื่นๆ ยังคงมีมูลค่าการนำเข้าอยู่ในอันดับสูงสุด โดยถ่านหินบิทูมินัสมีมูลค่าการนำเข้า 10,444.0 ล้านบาท และถ่านหินชนิดอื่นๆ มีมูลค่าการนำเข้า 15,261.9 ล้านบาท

รองลงมาได้แก่ กลุ่มแร่โลหะพื้นฐาน มีสัดส่วนการนำเข้าร้อยละ 6.91 ของมูลค่าการนำเข้าแร่รวมทั้งหมด ซึ่งมีมูลค่ารวม 2,433.4 ล้านบาท แร่ที่มีการนำเข้าสูงสุดในกลุ่มนี้ยังคงเป็นแร่ดีบุก มีมูลค่าการนำเข้า 2,268.9 ล้านบาท ซึ่งมีอัตราเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.49 ประเทศไทยมีผลผลิตแร่ในกลุ่มนี้จำนวนไม่มากนัก ในขณะที่ความต้องการใช้ภายในประเทศมีขยายตัวเพิ่มขึ้น จึงจำเป็นต้องมีการนำเข้าทั้งในรูปของแร่และโลหะจากต่างประเทศให้เพียงพอต่อความต้องการบริโภคภายในประเทศ

แร่ไนโอเบียมและวาเนเดียม แร่ทัลค์ โมลิบดิไนต์และดินขาว ยังคงครองอันดับการนำเข้าแร่ที่มีมูลค่าสูงเป็นอันดับต้นๆ ซึ่งมีมูลค่าการนำเข้าอยู่ที่ 890.8, 792.2, 760.1 และ 538.7 ล้านบาท ตามลำดับ

............................................................................................................................................................................................................. จัดทำโดย : ยุพิน พินิจศักดิ์