Mineral Import of Thailand 2018 - 2019 (Jan - Sep) 
 กลุ่มสถิติและพัฒนาข้อมูล 
 ศสท. 

 ไฟล์>> Click ที่นี่
 สถิติการนำเข้าแร่ของประเทศไทย ปี 2561 - 2562 ช่วงเดือนมกราคมถึงกันยายน 
การนำเข้าแร่ในช่วงปี 2562 ช่วงเดือนมกราคมถึงกันยายน มีมูลค่าการนำเข้า 51,361.8 ล้านบาท ลดลงจากปีก่อนในช่วงเวลาเดียวกันคิดเป็นร้อยละ 7.01 ซึ่งมีมูลค่าการนำเข้า 55,230.9 ล้านบาท
โดยกลุ่มแร่เชื้อเพลิง (Mineral Fuels and Energy) ยังคงเป็นกลุ่มแร่หลักที่มีการนำเข้ามากที่สุดและต่อเนื่อง เนื่องจากเป็นวัตถุดิบที่สำคัญในการผลิตพลังงานที่จำเป็นต่อการผลิตไฟฟ้าและพลังงานในภาคอุตสาหกรรม ซึ่งมีมูลค่าการนำเข้าสูงถึง 38,138.7 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 74.26 จากมูลค่าการนำเข้าแร่รวมทั้งหมด มีมูลค่าลดลงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับปีก่อนในช่วงเวลาเดียวกัน ซึ่งมีสัดส่วนร้อยละ 75.22 โดยถ่านหินชนิดอื่นๆ (Coal Solid Fuels from Coal) มีมูลค่าลดลง และถ่านหินบิทูมินัส (Bituminous coal) มีมูลค่าสูงขึ้น ก็ยังคงมีมูลค่าการนำเข้าอยู่ในอันดับสูงสุด มีมูลค่าการนำเข้า 18,730.8 และ 18,260.8 ล้านบาท ตามลำดับ
และช่วง 9 เดือนปี 2562 นี้ กลุ่มแร่โลหะพื้นฐาน (Base Metals) เป็นกลุ่มที่กลับมามีอันดับสูงสุดรองลงมาอีกครั้งโดยมีสัดส่วนการนำเข้าร้อยละ 6.14 มูลค่ารวม 3,154.3 ล้านบาท แม้จะลดลงมาเมื่อเทียบกับปี 2561 ที่มีสัดส่วนการนำเข้าร้อยละ 6.64 มูลค่ารวม 3,664.7 ล้านบาท ซึ่งแร่ดีบุก (Tin ore) และแร่อลูมิเนียม (Aluminium ore) มีมูลค่าการนำเข้าสูงสุดลดที่ 2,879.5 และ 197.1 ล้านบาท แต่มูลค่าเมื่อเทียบกับปีก่อนลดลงถึงร้อยละ 14.57 และ 17.59 ตามลำดับ
กลุ่มแร่ในอุตสาหกรรมอื่นๆ (Other Industrial Minerals) มีสัดส่วนการนำเข้าร้อยละ 5.9 ตกมาเป็นกลุ่มที่ 3 ของมูลค่าการนำเข้าแร่รวมทั้งหมด มีมูลค่ารวม 3,030.9 ล้านบาท แร่ที่มีการนำเข้าสูงสุดในกลุ่มนี้ ได้แก่ แร่ทัลค์ (Talc) มีมูลค่าการนำเข้า 1,291.4 ล้านบาท ซึ่งมีอัตราเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.44
สำหรับแร่โมลิบดิไนต์ (Molybdenite ore) และ ไนโอเบียมและวาเนเดียม (Niobium and Vanadium ore) มีมูลค่าการนำเข้าอยู่ในลำดับต้นๆ และใกล้เคียงกันเมื่อเทียบกับปีก่อนในช่วงเวลาเดียวกัน ซึ่งอยู่ที่ 1,891.2 และ 1,129.9 ล้านบาท ตามลำดับ