|
ความเป็นมา |
มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 13 มิถุนายน 2538 เห็นชอบ ในหลักการ แนวทาง การดำเนินงาน และแผนปฏิบัติการ เพื่อเปลี่ยนแปลง การระเบิด และย่อยหิน ไปเป็น เทคโนโลยี การทำเหมืองหิน ภายใต้ พระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. 2510 ซึ่งกำกับดูแล โดยกรมทรัพยากรธรณี กระทรวงอุตสาหกรรม มติคณะรัฐมนตรีดังกล่าว มีวัตถุประสงค์เพื่อ แก้ไขปัญหา ด้านการกำกับดูแล การใช้ทรัพยากรหิน ของประเทศ ให้อยู่ภายใต้ หน่วยงานเดียวกัน การแก้ปัญหา ความปลอดภัย ในการทำงาน โดยใช้เทคนิคทาง วิศวกรรมเหมืองแร่ การแก้ไขผลกระทบ ต่อสิ่งแวดล้อม และมีการวัดการ ใช้ประโยชน์จาก ทรัพยากร อย่างเหมาะสม
กระทรวงอุตสาหกรรม โดยกรมทรัพยากรธรณี ได้ดำเนินการ ตามมติ คณะรัฐมนตรี ดังกล่าว พร้อมทั้ง กำหนดมาตรการต่างๆ รองรับและ เตรียมการ กำหนดนโยบาย รองรับการ เปลี่ยนแปลง การระเบิดและย่อยหิน ไปเป็นเหมืองหิน ให้สามารถ ดำเนินการต่อไป ได้อย่างเป็นระบบ ได้แก่
1. แต่งตั้งคณะกรรมการ กำหนดแหล่งหิน เพื่อการทำเหมืองหิน อุตสาหกรรม ที่จะอนุญาต ตามพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. 2510 โดยแต่งตั้ง คณะกรรมการ 2 ชุด ได้แก่
- คณะกรรมการ กำหนดแหล่งหิน เพื่อการทำเหมือง หินอุตสาหกรรม ประกอบด้วย หน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องได้แก่ กรมที่ดิน กรมป่าไม้ สำนักงานนโยบาย และแผนสิ่งแวดล้อม และกรมทรัพยากรธรณี มีหน้าที่พิจารณา กำหนดแหล่งหิน เพื่อการทำเหมือง หินอุตสาหกรรม ตามพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. 2510
- คณะกรรมการ กำหนดแหล่งหิน เพื่อการทำเหมือง หินอุตสาหกรรม ระดับจังหวัด โดยมีผู้ว่าราชการ จังหวัด เป็นประธาน ประกอบด้วย หัวหน้าส่วนราชการ ที่เกี่ยวข้อง ในระดับจังหวัด เป็นกรรมการ และทรัพยากรธรณี ประจำท้องที่เป็น กรรมการและเลขานุการ มีหน้าที่พิจารณา กำหนดแหล่งหิน ภายในจังหวัด
2. กระทรวงอุตสาหกรรม ได้ประกาศกฎกระทรวง ฉบับที่ 77 (พ.ศ. 2539) กำหนดให้ หินทุกชนิด เป็นแร่ชนิดหินประดับ หรือแร่ชนิดหินอุตสาหกรรม เมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2539 ซึ่งมีผลให้ การประกอบกิจการ ผลิตหินเพื่อการก่อสร้าง ทั้งหมด มาอยู่ภายใต้ พระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. 2510
3. การดำเนินงาน ของกรมทรัพยากรธรณี
เมื่อกฎกระทรวงฉบับที่ 77 (พ.ศ. 2539) ออกตามความใน พระราชบัญญัติแร่ มีผลบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 16 มีนาคม 2539 กรมทรัพยากรธรณี ได้เร่งรัดดำเนินการ รองรับการเปลี่ยนแปลง การระเบิดและย่อยหิน มาเป็นการทำเหมืองหิน โดยใช้เทคโนโลยี ทั้งด้านการกำหนด แนวทางปฏิบัติให้เป็นธรรม และสอดคล้องกับสถานการณ์ การแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า เนื่องจากการขาดแคลนหิน เพื่อการก่อสร้าง อย่างรุนแรงในบางพื้นที่ และการประสานงาน กับหน่วยงานต่างๆ เพื่อแก้ไขปัญหาการ ดำเนินการ และอนุญาตประทานบัตร ทำเหมืองหิน ให้เป็นไปอย่าง รวดเร็ว การเร่งรัด กำหนดแหล่งหิน เพื่อการทำเหมือง หินอุตสาหกรรม และดำเนินการ เกี่ยวกับการกำกับดูแล โรงโม่หิน ที่รับโอนจาก กรมโรงงานอุตสาหกรรม โดยมีการดำเนินงาน ดังนี้
3.1 กำหนดแนวทางปฏิบัติด้านการทำเหมืองหินอุตสาหกรรม
กรมทรัพยากรธรณี กำหนดแนวทางปฏิบัติ สำหรับการขอประทานบัตร เหมืองหินอุตสาหกรรม เพื่อการก่อสร้าง โดยมีประกาศ กรมทรัพยากรธรณี เรื่องประทานบัตร หินอุตสาหกรรม ลงวันที่ 4 เมษายน 2539
3.2 เร่งรัดให้มี การกำหนดแหล่งหิน เพื่อการทำเหมือง หินอุตสาหกรรม โดยใช้ข้อมูล การสำรวจธรณีวิทยา ของกรมทรัพยากรธรณี การกำหนดเขต ระเบิดและย่อยหิน ของกระทรวงมหาดไทย ข้อมูลการวางแผน การจัดการทรัพยากรธรรมชาติ ในพื้นที่ลุ่มน้ำ ของสำนักงานนโยบายและแผน
- กำหนดพื้นที่ ที่มีการระเบิดและย่อยหิน อยู่แล้วเป็น แหล่งหิน เพื่อการทำเหมือง หินอุตสาหกรรม
- หากพื้นที่เดิม ไม่เพียงพอ จะพิจารณา แหล่งหินอื่น เพิ่มเติมจาก ข้อมูลพื้นฐานของ หน่วยงานต่างๆ กำหนดแหล่งหิน โดยคำนึงถึง ความต้องการใช้หิน และศักยภาพ ของแหล่งหิน ในพื้นที่นั้นๆ
- การกำหนดพื้นที่ แต่ละจุด จะคำนึงถึง ระยะทางขนส่ง ที่เหมาะสม
- การกำหนดแหล่งหิน แต่ละแหล่ง จะต้องได้รับ ความเห็นชอบ ในระดับจังหวัด ซึ่งจะต้องมี ผลกระทบต่อชุมชน และสิ่งแวดล้อม น้อยที่สุด
- การกำหนดแหล่งหิน จะกำหนดพื้นที่ ให้น้อยที่สุด แต่มีปริมาณสำรอง เพียงพอต่อความต้องการ ใช้หินในระยะยาว การเปิดพื้นที่ ในชั้นลุ่มน้ำที่ 1 จะต้องมีความจำเป็น อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้เท่านั้น ทั้งนี้ต้องมีแผนการ จัดการพื้นที่ทั้งระบบ (Management Plan) อย่างชัดเจน
- หากเป็นไปได้ จะพยายามผลักดัน ให้มีการเปิดการ ทำเหมืองหินในพื้นที่ราบ (ใต้พื้นดิน)
การกำกับดูแลและโรงโม่หิน กระทรวงอุตสาหกรรม ได้โอนงาน การประกอบกิจการ โรงงานประเภทโม่ บด และย่อยหิน จากกรมโรงงานอุตสาหกรรม ให้มาอยู่ภายใต้ การกำกับดูแลของ กรมทรัพยากรธรณี ตั้งแต่วันที่ 29 เมษายน 2539 กรมทรัพยากรธรณี ได้กำหนดแนวทางปฏิบัติ สำหรับการขออนุญาต ขยาย เปลี่ยนแปลง และ โอนกิจการโรงโม่หิน พร้อมทั้ง กำหนดมาตรการ ในการป้องกัน ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และความปลอดภัยในการทำงาน สำหรับโรงโม่หินที่ขอตั้งใหม่ และโรงโม่หิน ที่ได้ดำเนินการมาก่อน ตามประกาศกรมทรัพยากรธรณี เรื่องการประกอบ กิจการโรงโม่หิน ลงวันที่ 11 มิถุนายน 2539 |
|
|