ระเบียบว่าด้วยสารเคมีของสหภาพยุโรป
กับอุตสาหกรรมโลหะของไทย 
 นางนัฐิราภรณ์ ลินาแมน 
 กลุ่มส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศ สำนักพัฒนาและส่งเสริม กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ 

 ไฟล์ว่าด้วยสารเคมีของสหภาพยุโรปกับอุตสาหกรรมโลหะของไทย>> Click ที่นี่
 บทคัดย่อ 
รายงานวิชาการฉบับนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อศึกษาผลกระทบของระเบียบว่าด้วยสารเคมีของสหภาพยุโรปกับอุตสาหกรรมโลหะของไทย โดยมุ่งหวังให้ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมโลหะมีความตื่นตัวกับผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น โดยเริ่มต้นจากประวัติความเป็นมาของกลุ่มสหภาพยุโรป ประวัติความเป็นมาของระเบียบว่าด้วยสารเคมีของสหภาพยุโรป (Registration Authorization and Restriction of Chemical Substances: REACH) การนำเข้าและการส่งออกโลหะของประเทศไทย ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากระเบียบดังกล่าว ตลอดจนข้อคิดเห็นต่างๆ ทั้งนี้เพื่อเป็นข้อมูลให้กับภาครัฐและเอกชน ตลอดจนผู้สนใจทั่วไป 
ในแต่ละปีประเทศไทยมีการส่งออกโลหะ ได้แก่ อะลูมิเนียม ทองคำ เงิน แพลทินัม เหล็ก แทนทาลัม ทองแดง ดีบุก และไทเทเนียม มีปริมาณเพิ่มขึ้นทุกปี โดยในปี 2548 ตั้งแต่เดือนมกราคมถึงมิถุนายน ปริมาณการส่งออกเหล็กของประมาณ 145,846 ตัน หรือคิดเป็นมูลค่า 3,614 ล้านบาท หากพิจาณาโลหะที่มีมูลค่าการส่งออกสูงสุดคือ ทองคำและเงิน ตามลำดับ ปริมาณการส่งออกรวม 23,755 ตัน โดยมีมูลค่าทั้งสิ้น 8,037 ล้านบาท 
สำหรับการนำเข้าเข้าโลหะของไทย สูงสุด ได้แก่ อะลูมิเนียม เหล็ก (ท่อเหล็กไร้สนิม และท่อเหล็ก) ทองคำ และนิกเกิล เป็น ปี 2548 (มกราคม ถึง มิถุนายน) มีการนำเข้ารวมทั้งสิ้น 227,763 ตัน หรือคิดเป็นมูลค่า 15,006 ล้านบาท 
ผลการศึกษาพบว่า หากมีการประกาศใช้ระเบียบว่าด้วยสารเคมีของสหภาพยุโรป ซึ่งระเบียบดังกล่าวมีผลดีต่อสุขอนามัยและสิ่งแวดล้อม แต่อาจส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการอุตสาหกรรมโลหะในประเทศไทยได้ โดยต้นทุนการผลิตอาจสูงขึ้นเนื่องจากต้นทุนสารเคมีที่สูงขึ้น และผู้ผลิตอาจผลักภาระด้านค่าใช้จ่ายให้กับผู้บริโภคต่อไป 
......ผู้สนใจสามารถ download ไฟล์เอกสารในรูปแบบของ .pdf ไฟล์ เพื่อศีกษาจากด้านบน......