โลหะกับการพัฒนาประเทศ บทที่ 13: บทสรุป 
 กิตติพันธุ์ บางยี่ขัน 
 สำนักอุตสาหกรรมพื้นฐาน 

 ไฟล์เอกสาร>> Click ที่นี่
 บทที่ 13: บทสรุป 


[ผู้สนใจสามารถ Download เนื้อหาได้จาก ...>> ไฟล์เอกสาร]

อุตสาหกรรมโลหการนับเป็นอุตสาหกรรมที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาของประเทศเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากเป็นกลุ่มอุตสาหกรรมที่ทำหน้าที่ผลิตวัตถุดิบสำหรับอุตสาหกรรมต่อเนื่องต่างๆ โดยในแต่ละปีการผลิตและการบริโภคโลหะของประเทศไทยมีมูลค่าหลายแสนล้านบาท ดังนั้นจึงเป็นหนึ่งในกลไกที่สำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจมหภาคของประเทศ แต่ปัญหาหลักประการหนึ่งในการพัฒนาอุตสาหกรรมโลหการของประเทศคือ ผู้ประกอบการ หน่วยงานราชการ และประชาชน ยังขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับบทบาทความสำคัญของอุตสาหกรรมโลหการ รวมทั้งขาดความรู้ด้านการใช้ประโยชน์และเทคโนโลยีการผลิตโลหะประเภทต่างๆ ทำให้ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ต้องพึ่งพาเครื่องจักรอุปกรณ์ ตลอดจนบุคลากรจากต่างประเทศ

รายงานวิชาการฉบับนี้ได้จัดทำขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารวบรวมข้อมูลของอุตสาหกรรมการผลิตโลหะของไทย รวมถึงการนำโลหะไปใช้ประโยชน์ทั้งทางตรงและการประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรมต่อเนื่องอื่นๆ โดยครอบคลุมด้านกระบวนการผลิต การนำโลหะไปใช้ในอุตสาหกรรมต่างๆ ข้อมูลแหล่งวัตถุดิบ ปริมาณการผลิต การบริโภค และข้อมูลผู้ประกอบการในประเทศ ซึ่งการนำข้อมูลดังกล่าวมาศึกษาวิเคราะห์จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับผู้สนใจในเรื่องเทคโนโลยีการผลิตของอุตสาหกรรมโลหการ อีกทั้งจะเป็นการช่วยเพิ่มความรู้และศักยภาพของบุคลากรในแวดวงอุตสาหกรรมโลหการเพื่อในไปสู่การพัฒนาขีดความสามารถของผู้ประกอบการในเวทีการแข่งขันระดับโลกและสร้างความมั่นคงด้านวัตถุดิบให้กับภาคอุตสาหกรรมของประเทศไทยได้อย่างยั่งยืน

สำหรับเนื้อหาในรายงานวิชาการฉบับนี้ประกอบด้วย
บทที่ 1 บทนำ
บทที่ 2 เหล็ก
บทที่ 3 ดีบุก
บทที่ 4 ตะกั่ว
บทที่ 5 ทองคำ
บทที่ 6 ทองแดง
บทที่ 7 แทนทาลัม
บทที่ 8 นิกเกิล
บทที่ 9 พลวง
บทที่ 10 แมกนีเซียม
บทที่ 11 สังกะสี
บทที่ 12 อะลูมิเนียม
บทที่ 13 บทสรุป
ภาคผนวก ก ประวัติและการใช้ประโยชน์โลหะ
ภาคผนวก ข ข้อมูลการนำเข้าผลิตภัณฑ์โลหะของประเทศไทย
ภาคผนวก ค ข้อมูลการส่งออกผลิตภัณฑ์โลหะของประเทศไทย
ภาคผนวก ง รายชื่อผู้ประกอบการผลิตเหล็กประเภทต่างๆ
ภาคผนวก จ ข้อจำกัดในการใช้ประโยชน์และอันตรายของโลหะ