พระราชบัญญัติโรงงาน
พ.ศ. 2535
สาระสำคัญ
- บัญญัติเกี่ยวกับการกำหนดหลักเกณฑ์
วิธีการ และขั้นตอนในการพิจารณาอนุญาตให้ยกเว้นการประกอบ กิจการโรงงานในเขตอุตสาหกรรม
เขต ห้ามประกอบกิจการโรงงาน การให้อำนาจทางราชการเข้าไปจัดการ แทนผู้ประกอบกิจการโรงงาน
สถาปนิก วิศวกร และคนงาน ต้องร่วมรับผิดกับโรงงาน กำหนดให้มีคณะ กรรมการเปรียบเทียบคดีเปรียบเทียบปรับแทนศาลและบทกำหนดโทษ
สรุปบทบัญญัติระบุมาตรา
อำนาจหน้าที๋
- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
มีอำนาจหน้าที่ ออกกฎกระทรวงและประกาศกระทรวง
อุตสาหกรรม กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับประเภทโรงงาน กำหนดขั้นตอนการพิจารณา
อนุญาตให้ตั้งและประกอบกิจการโรงงาน การโอนใบอนุญาตการต่ออายุ
ใบอนุญาตแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่
และแต่งตั้งคณะกรรมการเปรียบเทียบคดีตามพระราช บัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535
- ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม
หรือผู้ซึ่งปลัดกระทรวงมอบหมาย มีอำนาจหน้าที่ออกใบอนุญาตต่ออายุ
โอน เลิกประกอบกิจการ ขยายกิจการ ยกเว้น หรือเปลี่ยนแปลงหรือเพิ่มเงื่อนไขใบอนุญาต
ประกอบกิจการ โรงงาน
-
ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรมได้มอบหมายให้ข้าราชการผู้ดำรงตำแหน่งดังต่อไปนี้
มีอำนาจหน้าที่ ในฐานะผู้อนุญาต คือ
(1) อธิบดีและรองอธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม
(2) อธิบดีกรมทรัพยากรธรณี
(3) ผู้อำนวยการศูนย์บริการเพื่อการลงทุน
(4) ผู้อำนวยการกองควบคุมโรงงาน
(5) หัวหน้าฝ่ายพิจารณาการอนุญาต
(6) หัวหน้าฝ่ายควบคุมโรงงาน
-
พนักงานเจ้าหน้าที่ มีอำนาจหน้าที่
กำกับ ดูแล การประกอบกิจการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติ โรงงาน พ.ศ. 2535 และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
- คณะกรรมการเปรียบเทียบคดีความผิดตามพระราชบัญญัติโรงงาน
พ.ศ. 2535 มีหน้าที่ พิจารณา คดีที่ผู้กระทำความผิดยินยอมให้ เปรียบเทียบปรับและมีอำนาจให้เปรียบเทียบปรับได้ตามพระราช
บัญญัติ โรงงาน พ.ศ. 2535