Thai English
Iron Making         
- เมนูหลัก -
Home
Blast Furnace
Corex
Finmet
HIsmelt
HyL III
Midrex
RHF
SL/RN
บทสรุปสำหรับผู้บริหาร
บทวิเคราะห์เปรียบเทียบกระบวนการถลุง
ตารางสรุป
การใช้วัตถุดิบ
บทวิเคราะห์เปรียบเทียบกระบวนการถลุง

สรุปข้อดีข้อเสียของเทคโนโลยีการผลิตเหล็กขั้นต้นในกลุ่มต่าง ๆ

SHAFT GROUP :  MIDREX, HYL III, AREX

 

 

ข้อดี

ข้อเสีย

- ได้ผลิตภัณฑ์คุณภาพสูง

- ไม่เหมาะกับประเทศที่มีราคาแก๊สสูง

- ได้รับการยอมรับและผลิตในระดับอุตสาหกรรม

- ต้นทุนวัตถุดิบสูง เนื่องจากใช้แร่ก้อน หรือ

- มีข้อมูลในการผลิตและการดำเนินงาน               

  แร่ก้อนอัดเม็ด คุณภาพสูง

  รวมทั้งข้อมูลเชิงเศรษฐศาสตร์มากเพียงพอ

- ความยืดหยุ่นของกระบวนการน้อย

- ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อย        

- ไม่มีการนำของเสียจากกระบวนการกลับมาใช้

- ปราศจาก export gas

   ประโยชน์ใหม่

FLUID BED GROUP :  FIOR , CIRCOFER, CIRCORED, FINMET, IRON CARBIDE

 

 

ข้อดี

ข้อเสีย

- ผลิตภัณฑ์คุณภาพสูง

- เงินลงทุนสูง

- ต้นทุนด้านวัตถุดิบต่ำ เนื่องจากใช้แร่เหล็กผง

- ต้นทุนราคาแก็สสูงในบางประเทศ (ยกเว้น กระบวนการ

- ไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม

  CIRCOFER ซึ่งใช้ถ่านหินเป็นสารถลุง)

- ปราศจากแก็สที่ปล่อยออกจากกระบวนการ

- มีความอ่อนไหวต่อ ขนาดและคุณภาพของแร่เหล็ก

 

- กระบวนการผลิตควบคุมและดำเนินการผลิตยาก

 

- ข้อมูลการผลิตเชิงอุตสาหกรรมยังน้อย

ROTARY HEARTH  GROUP  : INMETCO, FASTMET

 

 

ข้อดี

ข้อเสีย

- ได้รับการยอมรับในระดับอุตสาหกรรม

- ผลิตภัณฑ์คุณภาพต่ำเนื่องจาก การตกค้างของกำมะถัน

- เหมาะกับกำลังการผลิตขนาดเล็ก

  จาก กระบวนการเตรียมวัตถุดิบ

- ใช้แร่เหล็กผงและ ถ่านหินเป็นสารถลุง

- กำลังการผลิตถูกจำกัด

- กระบวนการผลิตมีความยืดหยุ่น

- มีเพียงไม่กี่โรงงานเท่านั้นที่ทำการผลิต

- กระบวนการถลุงใช้เวลาน้อย เนื่องจากอุณหภูมิสูง

- จำเป็น ต้องมี   off gas treatment ที่พอเพียง

- งบประมาณการลงทุนและดำเนินการต่ำ

- มีการปลอมปนของอโลหะในผลิตภัณฑ์ มาก

- สามารถนำกากจากกระบวนการมาหมุนเวียน เป็น

- ความหนาแน่นของผลิตภัณฑ์ต่ำ

  วัตถุดิบ

- จำเป็นต้องมีกระบวนการบำบัดแก็สที่ปล่อยออก

 

  มาอย่างพอเพียง

 

- อัตราการใช้ถ่านหินสูง

SMELT REDUCTION GROUP :  AISI , DIOS , FINEX , HISMELT , ROMELT , TECNORED

COREX , AUSMELT, NST

 

 

ข้อดี

ข้อเสีย

- ได้ผลิตภัณฑ์ในรูปของเหลว

- ยังขาดข้อมูลการผลิตในระดับอุตสาหกรรม

- ใช้ถ่านหินเป็นสารถลุง

  ยกเว้น COREX

- ใช้แร่เหล็กผง (ยกเว้นกระบวนการ COREX)

- แก๊สที่ปล่อยออกมามีจำนวนมากที่ต้องถูกนำไปใช้

- เหมาะกับการผลิตในระดับเล็กและระดับกลาง

  ประโยชน์

- ไม่ต้องการพลังงานไฟฟ้า

- ต้องการออกซิเจนปริมาณมาก

 

- เป็นกระบวนการผลิตที่มีความยืดหยุ่นน้อย

ROTARY KILN GROUP :   SL/RN, DRC

 

 

 

ข้อดี

ข้อเสีย

- ได้รับการยอมรับระดับอุตสาหกรรม

- ผลิตภัณฑ์คุณภาพต่ำเนื่องจาก ซัลเฟอร์ และ กากแร่

- รูปร่างแร่ไม่สำคัญ  และ ใช้ถ่านหินเป็นสารถลุง

- กระบวนการถลุงใช้เวลานาน

- กระบวนการผลิตไม่ซับซ้อน

- กำลังการผลิตจำกัด

- เหมาะกับการผลิตในระดับเล็ก

- จำเป็นต้องมีกระบวนการบำบัดแก็สที่ปล่อยออก

 

  มาอย่างพอเพียง

 

- เป็นกระบวนการผลิตที่มีความยืดหยุ่นน้อย

 

- อัตราการใช้ถ่านหินสูง

ROTARY HEARTH + ELECTRIC MELTER  GROUP  : REDSMELT , FASTSMELT

 

 

ข้อดี

ข้อเสีย

- ได้ผลิตภัณฑ์ในรูปของเหลว

- เงินลงทุนสูง

- ใช้แร่เหล็กผง และใช้ถ่านหินเป็นสารถลุง

- มีข้อจำกัดด้านกำลังการผลิต

- เหมาะกับการผลิตในระดับเล็ก

- มีเพียงไม่กี่โรงงานเท่านั้นที่ทำการผลิต

- ปราศจากแก็สที่ปล่อยออกจากกระบวนการ

- จำเป็น ต้องมี   Off gas treatment ที่เพียงพอ

 

- ต้องการพลังงานไฟฟ้า

 

- อัตราการใช้ถ่านหินสูง

แนวโน้มเทคโนโลยีในการผลิตเหล็กขั้นต้นในช่วง 5 – 10 ปีข้างหน้า

เทคโนโลยีในการผลิตเหล็กขั้นในโลกมีการพัฒนาเพื่อมุ่งไปสู่จุดมุ่งหมายหลักสามประการคือ การควบคุมต้นทุนการผลิต การเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้พลังงาน และการควบคุมผลกระทบกับสิ่งแวดล้อม เพื่อพิจารณาแนวโน้มในการพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตเหล็กขั้นต้นในอนาคตจึงได้ทำการรวบรวมสรุปปริมาณการใช้วัตถุดิบสำหรับการผลิตเหล็กขั้นต้น 1 ตัน ด้วยกระบวนการที่แตกต่างกัน ในตารางที่ 4.31 และแนวทางการวิจัยเพื่อพัฒนาเทคโนโลยีเหล็กขั้นต้นในอนาคตในโลก โดยแบ่งตามเทคโนโลยีการผลิตดังนี้

กระบวนการ Blast Furnace
1) การพัฒนากระบวนการ Blast Furnace มีขนาดเล็กลงเพื่อลดงบประมาณการลงทุนชั้น คุณภาพของแร่เหล็กและถ่านหิน และลดผลกระทบกับสิ่งแวดล้อม โดยมีการพัฒนา Blast Furnace ในขนาด 0.6 - 1.0 ล้านตัน (compact blast furnace) และ 0.1 - 0.3 ล้านตัน (mini blast furnace)
2) เพื่อลดปริมาณแก๊สทิ้งที่เป็นมลพิษทางอากาศ จากกระบวนการเผาถ่านหินให้เป็น ถ่านโค้ก มีการพัฒนานำถ่านหินละเอียดมาใช้โดยพ่นเข้าไปในรูพ่นลม (tuyeres) โดยปริมาณจำกัด ในอดีตที่ 120 กิโลกรัมต่อตันของน้ำเหล็ก จากการพัฒนาเตาเผาอากาศ (hot blast stove) ให้สามารถเผาอากาศร้อนที่อุณหภูมิ 1300 องศาเซลเซียส และเพิ่มปริมาณออกซิเจนในอากาศที่พ่นเข้าเตาประมาณ 2 – 4 เปอร์เซ็นต์ ทำให้ปริมาณจำกัดในปัจจุบันเพิ่มขึ้นที่ระดับ 200 – 250 กิโลกรัมต่อตันของน้ำเหล็ก) เพื่อเพิ่มสมบัติของแร่เหล็กให้มีความแข็งแรงในการใช้กับ CBF (compact blast furnace) และ MBF (mini blast furnace)
3) เพื่อเพิ่มเสถียรภาพและประสิทธิภาพของกระบวนการ โดยการตรวจวัดในลักษณะ เครือข่าย เพื่อให้เกิดการจำลองสภาวะที่เหมาะสมโดยการปรับเปลี่ยนค่าตัวแปรต่าง ๆ ของระบบการพัฒนาอุปกรณ์ในการตรวจวัดแก๊สที่ไหลออกจากกระบวนการ

การถลุงในสภาพหลอมเหลว

ปัญหาของเทคโนโลยีเนื่องจากเทคโนโลยียังอยู่ในช่วงการพัฒนาโรงงานทดลองหรือการปรับเปลี่ยนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการผลิต แต่ยังขาดกระบวนการที่สามารถทำการ pre-reduction แร่เหล็กก่อนเข้าสู่อ่างหลอมเหลว การถ่ายเทความร้อนจากแก๊สที่ออกจากระบบกับแก๊สที่เข้าสู่ระบบที่มีประสิทธิภาพ การกำจัดกำมะถันออกจากน้ำเหล็กยังขาดกการพัฒนากระบวนการที่เหมาะสมเชิงพาณิชย์ โดยมีแนวทางในการพัฒนาดังนี้

1) การพัฒนาการถ่ายเทความร้อนจากแก๊สออกจากระบบให้กับเข้าระบบ
2) พัฒนาระบบของเครื่องจักรให้สอดคล้องกับการผลิตจริง
3) พัฒนากระบวนการควบคุมการผลิตเชิงปฏิบัติในแต่ละขั้นตอนตั้งแต่การทำ pre-reduction จนถึงกระบวนการหลอมละลาย
4) พัฒนากระบวนการกำจัดกำมะถันในน้ำเหล็กที่เหมาะสมเชิงพาณิชย์

ข้อมูลโดย : ส่วนการประกอบโลหกรรม สำนักอุตสาหกรรมพื้นฐาน โทร.0-2202-3609

กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่
75/10 ถนนพระรามที่ 6 แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400
โทร.0-2202-3555, 0-2202-3565, 0-2202-3567 โทรสาร.0-2644-8746
[ที่ตั้งกรมฯ]
Designed by :
สงวนลิขสิทธิ์ 2543 กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่