Thai English
Iron Making         
หน้าหลัก | ผังการไหล | กระบวนการผลิต | การบริโภควัตถุดิบ | สถานการณ์ปี45  
- เมนูหลัก -
Home
Blast Furnace
Corex
Finmet
HIsmelt
HyL III
Midrex
RHF
SL/RN
บทสรุปสำหรับผู้บริหาร
บทวิเคราะห์เปรียบเทียบกระบวนการถลุง
ตารางสรุป
การใช้วัตถุดิบ
กระบวนการถลุงเหล็กด้วยเทคโนโลยี FINMET

ส่วนที่ 1 กระบวนการถลุงเริ่มต้นจากแร่เหล็กละเอียดขนาดต่ำกว่า 12 มิลลิเมตร ที่ถูกทำให้แห้งจนเหลือความชื้นเพียง 0.1 - 0.2 เปอร์เซ็นต์ และอุ่นให้ร้อนประมาณ 100 องศาเซลเซียส จากนั้นจึงป้อนเข้าชุดถังถลุง โดยเริ่มที่ถัง fluidized-bed reactors แรก ที่ปรับสภาวะความดัน ภายในได้ถึงประมาณ 10 บาร์ แร่เหล็กจะถูกถลุงด้วยแก๊สถลุงซึ่งถูกส่งมาจาก reactor ตัวถัดไปที่อุณหภูมิประมาณ 400 - 550 องศาเซลเซียส โดยแก๊สถลุงจะป้อนเข้าจากทางด้านล่างของ reactor ย้อนขึ้นไปยังผงแร่ซึ่งค่อย ๆ เคลื่อนตัว ทำให้มีสภาวะการเคลื่อนตัวคล้ายการเดือดของของไหล (fluidize) เกิดปฏิกิริยาระหว่างแก๊สถลุงและผงแร่ ซึ่งเมื่อถูกถลุงเบื้องต้นก็จะเคลื่อนตัวไหลตามแรงโน้มถ่วงลงสู่ช่องป้อนเข้าของถัง reactor ตัวถัดไป และก็จะถูกถลุงด้วยแก๊สซึ่งถูกส่งต่อมาจากถัง reactor ตัวถัดไปจากนั้นจึงไหลลงในลักษณะเช่นเดียวกันกับถังแรกจนครบ 4 ถัง ตามลำดับ สมบัติที่เหมาะสมของ วัตถุดิบต่าง ๆ ที่ใช้ในกระบวนการ แร่เหล็กถูกถลุงจนกระทั่งได้ระดับ metallization ตามที่ต้องการ (ปกติจะมีค่าอยู่ที่ 91 – 92 เปอร์เซ็นต์ metallization) โดยที่ถังสุดท้ายอุณหภูมิถลุงอยู่ประมาณ 800 องศาเซลเซียส เหล็กอยู่ในรูปเหล็กคาร์ไบด์ (Fe3C) เพื่อปรับค่าปริมาณคาร์บอนในเหล็กถลุงให้อยู่ประมาณ 0.5 ถึง 3 เปอร์เซ็นต์ ตารางที่ 4.24 แสดงถึงปริมาณการบริโภคปัจจัยนำเข้าต่าง ๆ ที่ต้องการเพื่อการผลิต HBI 1 ตัน

ส่วนที่ 2 ผลิตภัณฑ์ถูกลำเลียงออกมาในลักษณะเป็นผงเหล็กถลุง แล้วส่ง เข้าสู่ขั้นตอนการอัด ด้วยเครื่องอัดก้อน (briqueting machine) เพื่อทำให้อยู่ในรูปของเหล็กอัดก้อน HBI ส่วนที่ร่วนจะถูกแยกออกเพื่อส่งเข้าไปป้อนเข้าระบบใหม่ หลังจากนั้นก้อน HBI ที่ได้จะถูกทำให้เย็นตัวลงด้วยการผ่านน้ำก่อนลำเลียงไปเก็บต่อไป

ส่วนที่ 3 แก๊สถลุงผลิตขึ้นจากแก๊สธรรมชาติที่ความดันประมาณ 35 บรรยากาศส่งเข้าผสมและทำปฏิกิริยากับไอน้ำร้อนยิ่งยวด (superheat steam) ภายใน reformer ได้ออกมาเป็นแก๊สคาร์บอนมอนอกไซด์และแก๊สไฮโดรเจน แก๊สถลุงที่ผลิตได้ส่งเข้ารวมกับแก๊สถลุงที่ถูกหมุนเวียนจากระบบก่อนที่จะถูกนำไปแยกแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ออก หลังจากนั้นอุ่นจนมีอุณหภูมิขาเข้าเหมาะสมในการถลุงคือประมาณ 850 องศาเซลเซียส แล้วเข้าสู่กระบวนการที่ reactor ตัวสุดท้ายในทิศทางสวนกันกับการเคลื่อนตัวของแร่เหล็ก ดังลักษณะที่ได้อธิบายก่อนหน้านี้ แก๊สที่ออกจากกระบวนการที่ถังถลุงแรกจะถูกแยกฝุ่นออกไปด้วย wet scrubber แล้วจึงส่งต่อไปหมุนเวียนกลับเข้าระบบ


กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่
75/10 ถนนพระรามที่ 6 แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400
โทร.0-2202-3555, 0-2202-3565, 0-2202-3567 โทรสาร.0-2644-8746
[ที่ตั้งกรมฯ]
Designed by :
สงวนลิขสิทธิ์ 2543 กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่