Thai English
Iron Making         
หน้าหลัก | ผังการไหล | กระบวนการผลิต | การบริโภควัตถุดิบ | สถานการณ์ปี45  
- เมนูหลัก -
Home
Blast Furnace
Corex
Finmet
HIsmelt
HyL III
Midrex
RHF
SL/RN
บทสรุปสำหรับผู้บริหาร
บทวิเคราะห์เปรียบเทียบกระบวนการถลุง
ตารางสรุป
การใช้วัตถุดิบ
กระบวนการถลุงด้วยเทคโนโลยี RHF

ส่วนที่ 1 ส่วนการเตรียมวัตถุดิบ นำแร่เหล็กที่ขนาดเล็กกว่า 12 มิลลิเมตร หรือของเสียจากการผลิตเหล็กที่ผ่านการบดลดขนาดให้มีขนาดเล็กกว่า 74 ไมโครเมตร มากกว่า อัตราส่วนร้อยละ 70 ผสมรวมกับถ่านหินที่อัตราส่วนร้อยละคาร์บอนสูงมีปริมาณขี้เถ้าต่ำ และอัตราส่วนร้อยละของกำมะถันต่ำที่ผ่านการบดลดขนาดให้มีขนาดเล็กกว่า 74 ไมโครเมตร มากกว่าอัตราส่วนร้อยละ 70 โดยใช้ตัวประสานเป็นเบนโทไนท์ในอัตราส่วนร้อยละ 0.5 กับฟลักซ์ที่เป็นหินปูนหรือ โดโลไมท์ในอัตราส่วนร้อยละ 1.5 ผสมรวมกัน แล้วนำไปอัดเป็นก้อนที่เครื่องปั้นเพลเลทแบบจาน เพื่อทำให้เป็นก้อนวัตถุดิบที่มีขนาดประมาณ 17 - 20 มิลลิเมตร ทำการเผาไล่ความชื้นที่เตาสายพานส่งวัตถุดิบเข้าสู่ RHF วัตถุดิบและปัจจัย นำเข้าที่ต้องการใช้สำหรับกระบวนการ RHF

ส่วนที่ 2 เตาเผาหมุนรูปวงแหวนเป็นเตาเผารูปวงแหวนวางตัวแนวนอนก่อด้วยวัสดุทนไฟวัตถุดิบจะถูกป้อนเรียงซ้อนกันเป็นชั้นใน RHF เคลื่อนที่ตามเส้นรอบวงของตัวเตามีการให้ความร้อนบริเวณเหนือก้อนวัตถุดิบและการไหลของแก๊สสวนทางกับการเคลื่อนที่ของก้อนวัตถุดิบ การเกิดปฏิกิริยาสามารถแบ่งได้เป็นสองช่วง คือ
ก. ช่วงที่หนึ่ง การเพิ่มอุณหภูมิของวัตถุดิบไปที่ 900 - 1,100 องศาเซลเซียส ปฏิกิริยาที่เกิดจะเปลี่ยนแร่เหล็กในรูป Haematite (Fe2O3) เป็น Wustite (FeO)
ข. ช่วงที่สอง กระบวนการลดออกซิเจน (Reducing Zone) จากแร่โดยการควบคุมอุณหภูมิให้อยู่ในช่วง 1,200 - 1,350 องศาเซลเซียส ปฎิกิริยาที่เกิดจะเปลี่ยนแร่เหล็กในรูป Wustite (FeO) เป็นโลหะเหล็ก (Fe) วัตถุดิบจะอยู่ในเตาประมาณ 5 - 15 นาที

ส่วนที่ 3 ระบบการป้อนวัตถุดิบ ผลิตภัณฑ์จะออกจาก RHF ที่อุณหภูมิ 1,100 - 1,200 องศาเซลเซียส และจะถูกนำไปเก็บไว้ในถังเก็บวัตถุดิบที่ทำการป้องกันการเกิดออกซิเดชันด้วยไนโตรเจนก่อนนำเข้าถังป้อนวัตถุดิบแบบเคลื่อนที่ (transfer hopper) เพื่อป้อนเข้าเตาหลอมอาร์คไฟฟ้า(EAF) หรือนำไปอัดให้มีความหนาแน่นเพิ่มขึ้น (Hot Briquetting Press)

ส่วนที่ 4 ระบบกำจัดฝุ่นแก๊สร้อนที่ปล่อยออกจากระบบมีอุณหภูมิโดยประมาณ 1,100 องศาเซลเซียส จะมีอัตราส่วนระหว่าง CO/CO2 ประมาณ 2 เท่า เพื่อป้องกันการเกิดออกซิเดชัน ที่อุณหภูมิสูงของผลิตภัณฑ์ อากาศร้อนที่ออกจากระบบจะนำไปรวมกับอากาศภายนอกและเชื้อเพลิง ทำให้เกิดการเผาไหม้ที่สมบูรณ์ในห้องเผาไหม้ เพื่อทำการเผาไหม้ฝุ่นขนาดเล็ก ทำการลดอุณหภูมิจาก 1,100 ไปที่ 700 องศาเซลเซียส นำเอาแก๊สร้อนไปเพิ่มอุณหภูมิให้การอากาศที่ใช้ในการเผาไหม้กับ เชื้อเพลิงใน RHF ลดอุณหภูมิก่อนกรองฝุ่นละเอียดอีกครั้งปล่อยสู่สิ่งแวดล้อม


กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่
75/10 ถนนพระรามที่ 6 แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400
โทร.0-2202-3555, 0-2202-3565, 0-2202-3567 โทรสาร.0-2644-8746
[ที่ตั้งกรมฯ]
Designed by :
สงวนลิขสิทธิ์ 2543 กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่