Thai English
Iron Making         
หน้าหลัก | ผังการไหล | กระบวนการผลิต | การบริโภควัตถุดิบ | สถานการณ์ปี45  
- เมนูหลัก -
Home
Blast Furnace
Corex
Finmet
HIsmelt
HyL III
Midrex
RHF
SL/RN
บทสรุปสำหรับผู้บริหาร
บทวิเคราะห์เปรียบเทียบกระบวนการถลุง
ตารางสรุป
การใช้วัตถุดิบ
รายละเอียดของกระบวนการถลุงแร่เหล็กด้วยเทคโนโลยี SL/RN

ส่วนที่ 1 ส่วนการป้อนวัตถุดิบ (feeding equipment) โดยป้อนวัตถุดิบที่มีส่วนผสมของแร่เหล็ก ถ่านหิน และหินปูน ซึ่งทำหน้าที่รวมตัวกับซัลเฟอร์จากแก๊สเชื้อเพลิง เพื่อควบคุมปริมาณซัลเฟอร์ในผลิตภัณฑ์

ส่วนที่ 2 เตาเผาหมุนแบบนอน เป็นเตาเผาวางตัวแนวนอนทำมุมเอียงเพื่อให้วัตถุดิบสามารถเคลื่อนที่จากต้นทางเข้าสู่ทางออก โดยจะทำการหมุนไปในตัวเพื่อให้เกิดความสม่ำเสมอในการผสมวัตถุดิบ อุณหภูมิและการเกิดปฏิกิริยา ซึ่งการเกิดปฏิกิริยานี้สามารถแบ่งได้เป็น 2 ช่วง คือ
ก. ช่วงที่หนึ่ง การเพิ่มอุณหภูมิของวัตถุดิบไปที่ 900 - 1,100 องศาเซลเซียส (preheating zone) ปฎิกิริยาที่เกิดเปลี่ยนแร่เหล็กในรูป Haematite (Fe2O3) เป็น Wustite (FeO)
ข. ช่วงที่สอง กระบวนการลดออกซิเจนจากแร่โดยการควบคุมอุณหภูมิให้อยู่ในช่วง 1,050 - 1,100 องศาเซลเซียส ปฎิกิริยาที่เกิดเปลี่ยนแร่เหล็กในรูป Wustite (FeO) เป็นโลหะเหล็ก (Fe) การควบคุมปฏิกิริยาจะใช้อากาศภายนอกป้อนเข้าไปทั้งสองช่วง และการให้ความร้อนด้วยหัวเผา (burner) บริเวณท้ายเตาเผาหมุนแบบนอน การควบคุมอัตราการไหลของวัตถุดิบกำหนดด้วยมุมเอียงและอัตราการหมุนของเตาเผาหมุนแบบนอน

ส่วนที่ 3 ส่วนการลดอุณหภูมิ (rotary cooler) วัตถุดิบจะไหลออกจากเตาเผาหมุนแบบนอนผ่านตะแกรงคัดแยก โดยจะแยกวัตถุดิบขนาดใหญ่ที่เกิดจากการหลอมตัวของแร่เหล็กละเอียดที่แตกตัวระหว่างการเผากับขี้เถ้า และวัตถุที่ผ่านตะแกรงจะถูกลดอุณหภูมิในส่วนการลดอุณหภูมิด้วยการหล่อเย็นด้วยน้ำโดยตรง (direct water cooling) ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับเตาเผาหมุนแบบนอนโดยทำมุมเอียงและหมุนพร้อมทั้งการพ่นน้ำ อุณหภูมิของวัตถุดิบที่ออกจากส่วนลดความร้อนมีอุณหภูมิประมาณ 100 องศาเซลเซียส

ส่วนที่ 4 ส่วนการคัดแยก (separator) สามารถแบ่งการคัดแยกออกเป็น 2 ส่วน
ก. การคัดขนาด ทำการคัดขนาดโดยใช้ตะแกรงคัดขนาดโดยแยกส่วนผสมเป็นขนาดที่ใหญ่กว่า 30 มิลลิเมตร ออกก่อน แล้วทำการคัดแยกส่วนผสมของเหล็กพรุน ขี้เถ้าจากถ่านหิน ปูนขาวและวัตถุดิบ ออกเป็นสองกลุ่ม คือ ขนาดใหญ่กว่า 3 มิลลิเมตร และขนาดเล็กกว่า 3 มิลลิเมตร เพื่อทำการคัดแยกต่อไป
ข. การคัดแยกด้วยแม่เหล็ก ทำการคัดแยกทั้งสองกลุ่มด้วย แม่เหล็ก(magnetic seperator) เหล็กพรุนมีคุณสมบัติที่สามารถคัดแยกด้วยแม่เหล็กได้ ส่วนที่เหลือจากการคัดแยกที่มีขนาดใหญ่กว่า 3 มิลลิเมตร ให้ทำการป้อนเข้าในกระบวนการใหม่ และขนาดที่เล็กกว่า 3 มิลลิเมตร เป็นของเสียจากกระบวนการ

ส่วนที่ 5 ระบบกำจัดฝุ่นแก๊สร้อนที่ออกจากเตาเผาหมุนแบบนอนมีอุณหภูมิประมาณ 900 - 1,000 องศาเซลเซียส จะทำการกรองฝุ่นหยาบออกก่อนและทำให้เกิดการเผาไหม้ที่สมบูรณ์ในห้องเผาไหม้เพื่อทำการเผาไหม้ฝุ่นขนาดเล็กทำการกรองฝุ่นละเอียดอีกครั้งก่อนการปล่อยสู่สิ่งแวดล้อม


กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่
75/10 ถนนพระรามที่ 6 แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400
โทร.0-2202-3555, 0-2202-3565, 0-2202-3567 โทรสาร.0-2644-8746
[ที่ตั้งกรมฯ]
Designed by :
สงวนลิขสิทธิ์ 2543 กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่